เอแบคโพลล์: คะแนนนิยมของสาธารณชนต่อ พรรคการเมือง ในบรรยากาศโหมโรงปลุกกระแสเลือกตั้งใหม่

ข่าวผลสำรวจ Monday April 4, 2011 07:24 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง คะแนนนิยมของสาธารณ ชนต่อ พรรคการเมือง ในบรรยากาศโหมโรงปลุกกระแสเลือกตั้งใหม่ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง พระนครศรีอยุธยา เชียงใหม่ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ขอนแก่น นครราชสีมา ชุมพร และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 5,212 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง 25 มีนาคม — 2 เมษายน 2554 ที่ผ่าน มาพบว่า ส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกสัปดาห์

ในบรรยากาศโหมโรงปลุกกระแสเลือกตั้งใหม่ที่จะมาถึงนี้ ผลสำรวจครั้งล่าสุดของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์เรื่องคะแนนนิยมของสาธารณชน ต่อพรรคการเมือง พบ ร้อยละ 32.7 ไม่เลือกพรรคใด กำลังมองหาพรรคการเมืองที่ดีกว่า อย่างไรก็ตาม คะแนนนิยมของประชาชนต่อพรรคการเมือง ใหญ่สองพรรคยังคงสูสีกันมาก แต่หากพิจารณาที่ตัวเลขผลสำรวจที่ค้นพบจะเห็นได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ร้อยละ 26.4 และพรรคเพื่อไทยได้ร้อยละ 25.5 ซึ่งในทางสถิติไม่ถือว่าแตกต่างกันในการสำรวจครั้งนี้ ในขณะที่พรรคการเมืองอื่นๆ ได้ ร้อยละ 15.4

เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า ตัวอย่างผู้หญิงร้อยละ 27.1 และชายร้อยละ 25.7 เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างชายร้อย ละ 27.4 และหญิงร้อยละ 23.6 จะเลือกพรรคเพื่อไทย อย่างไรก็ตาม เกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.9 ของกลุ่มตัวอย่างผู้หญิง และร้อยละ 31.5 ของกลุ่มตัวอย่างผู้ชาย ไม่เลือกพรรคการเมืองใดแต่กำลังมองหาพรรคการเมืองที่ดีกว่า และร้อยละ 15.4 ของทั้งชายและหญิงจะเลือกพรรค การเมืองอื่นๆ

เมื่อจำแนกตามอายุ พบว่า พรรคเพื่อไทยจะได้เสียงสนับสนุนมากคือร้อยละ 27.9 ในกลุ่มคนอายุ 50 ปีขึ้นไป เช่นเดียวกับพรรคประชา ธิปัตย์ที่ได้ร้อยละ 27.7 ในตัวอย่างกลุ่มนี้ และพรรคเพื่อไทยยังได้เสียงสนับสนุนร้อยละ 27.4 ของคนอายุต่ำกว่า 20 ปี ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ ร้อยละ 24.2 เมื่อวิเคราะห์ช่วงอายุอื่นๆ แล้วพบว่า พรรคการเมืองทั้งสองพรรคนี้จะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในวัยต่างๆ ในลักษณะไม่แตกต่าง กัน

แต่เมื่อวิเคราะห์ระดับการศึกษา จะพบว่าความแตกต่างในกลุ่มคนที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี โดยพบว่า ร้อยละ 28.6 ของคนที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ แต่ร้อยละ 19.0 จะเลือกพรรคเพื่อไทย ในขณะที่ร้อยละ 27.3 ของคนที่มีการ ศึกษาปริญญาตรีจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ แต่ร้อยละ 19.6 จะเลือกพรรคเพื่อไทย โดยในกลุ่มคนที่ต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 26.4 จะเลือกพรรคประ ชาธิปัตย์แต่ร้อยละ 26.3 จะเลือกพรรคเพื่อไทย จะเห็นได้ว่า ไม่ได้ทิ้งห่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

เมื่อจำแนกตามอาชีพ พบประเด็นที่น่าสนใจคือ พรรคประชาธิปัตย์กำลังได้ผลตอบแทนจากแนวนโยบายที่ให้ประโยชน์แก่กลุ่มข้าราชการ อย่างมีนัยสำคัญคือ ร้อยละ 24.0 ของกลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และยังได้การสนับสนุนมากจากกลุ่มพ่อค้า คือร้อยละ 28.2 ของตัวอย่างที่เป็นนักธุรกิจ และค้าขาย ในขณะที่กลุ่มเกษตรกรและรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป เสียงสนับสนุนไม่แตกต่างกันระหว่างพรรคเพื่อไทยกับ พรรคประชาธิปัตย์คือร้อยละ 26.7 กับร้อยละ 27.2 ในการสำรวจครั้งนี้ แต่ที่น่าจับตามองคือกลุ่มตัวอย่างที่กำลังมองหาพรรคการเมืองที่ดีกว่าสอง พรรคนี้ ที่มีอยู่มากถึงร้อยละ 41.2 ในกลุ่มข้าราชการ ร้อยละ 33.3 ในกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 32.7 ในกลุ่มนักธุรกิจ พ่อค้า ร้อยละ 31.9 ในกลุ่มนักศึกษา และร้อยละ 31.8 ในกลุ่มเกษตรกรและรับจ้างใช้แรงงานทั่วไปที่จะเป็นกลุ่มที่มีพลังเสียงมากที่สุดและสามารถตัดสินชี้ขาดการจัด ตั้งรัฐบาลในอนาคตได้

นอกจากนี้ ที่เห็นได้ชัดเจนคือ กลุ่มคนที่มีรายได้มากมีสัดส่วนของคนที่จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์มากกว่าพรรคเพื่อไทย จึงสะท้อนให้เห็นได้ ว่านโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันยังไม่โดนใจประชาชนผู้มีรายได้น้อยอย่างทั่วถึง โดยพบว่า ร้อยละ 27.2 ของคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาทจะ เลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 24.3 ของกลุ่มนี้จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 16.2 จะเลือกพรรคอื่นๆ แต่ร้อยละ 32.3 กำลังมองหาพรรคการ เมืองที่ดีกว่า ในขณะที่กลุ่มประชาชนที่รายได้สูงขึ้นไปเกินกว่าร้อยละ 30 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ประมาณร้อยละ 20 จะเลือกพรรคเพื่อไทย

ที่น่าพิจารณาคือ หลังจำแนกตามภูมิภาค พบว่า คนภาคใต้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.5 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ แต่คนกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 33.0 จะเลือกพรรคเพื่อไทย โดยทิ้งห่างพรรคประชาธิปัตย์ที่มีอยู่ร้อยละ 21.0 ของคนกรุงเทพมหานคร ในขณะที่ คนภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ร้อยละ 33.2 จะเลือกพรรคเพื่อไทย ทิ้งห่างพรรคประชาธิปัตย์เช่นกันที่มีอยู่เพียงร้อยละ 16.6 โดยมีพรรคการเมืองอื่นๆ ได้ร้อยละ 20.8 แต่ ในพื้นที่ภาคกลาง พบว่า ร้อยละ 22.5 ของคนภาคกลางจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 16.3 จะเลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 14.2 จะเลือก พรรคอื่นๆ ในขณะที่พื้นที่ภาคเหนือ ร้อยละ 29.7 ของคนภาคเหนือจะเลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 24.6 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์

ดร.นพดล กล่าวว่า ถ้าวันนี้เลือกตั้งกันใหม่จะเห็นได้ชัดเจนว่า พรรคเพื่อไทยจะชนะพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และภาค ตะวันออกเฉียงเหนืออย่างมีนัยสำคัญ แต่ฐานที่แข็งแกร่งของพรรคประชาธิปัตย์ยังคงเป็นพื้นที่ภาคใต้ และเสียงสนับสนุนมากในภาคกลาง โดยมีพื้นที่ภาค เหนือเป็นพื้นที่ที่จะแข่งขันสูงมากระหว่างพรรคการเมืองใหญ่สองพรรคนี้คือพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย เพราะดูเหมือนว่าจะเป็นพื้นที่ที่พรรคประ ชาธิปัตย์มีความหวังมากกว่าพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่เมื่อพิจารณาโดยภาพรวม จะพบว่า กลุ่มประชาชนที่ยังไม่เลือกพรรคใดและกำลังมองหา พรรคการเมืองที่ดีกว่ามีจำนวนมากและน่าจะเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดทิศทางของประเทศภายหลังการเลือกตั้งถ้าประชาชนเหล่านี้ออกไปใช้สิทธิ ของตนเอง

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ที่ชัดเจนที่สุดที่จะฟันธงได้และไม่น่าจะคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงนักถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง คือ ประเทศไทยจะได้ “รัฐบาลผสม” โดยจะไม่เกิดรัฐบาลพรรคเดียวอย่างแน่นอน และพรรคการเมืองที่เนื้อหอมเป็นที่ต้องการจะเป็นพรรคการเมือง ขนาดกลางและขนาดเล็กที่จะถูกแย่งชิงกันอย่างดุเดือดเข้มข้นในเวทีของการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองและการจัดการทรัพยากรของประเทศในอนาคต อันใกล้นี้ ดังนั้น การเมืองหลังเลือกตั้งก็จะยังคงเหมือนเดิม เราจะเห็นภาพเดิมๆ ของการวิ่งเต้นจับขั้วจัดตั้งรัฐบาล การรับประทานอาหารที่โรงแรม หรูหราของพรรคการเมืองต่างๆ ตกลงกันในโควต้าตำแหน่งรัฐมนตรีของแต่ละพรรค ส่วนความเดือดร้อนทุกข์ยากของประชาชน ความเหลื่อมล้ำไม่เป็น ธรรมทางสังคม เศรษฐกิจและสิทธิต่างๆ ของประชาชนจะยังคงเหมือนเดิม

“ทางออกคือ ประชาชนทุกคนต้องออกมาเรียกร้องหา “การเปลี่ยนแปลง” จากพรรคการเมืองทุกพรรค อย่างน้อยสามประการคือ ประการแรก พรรคการเมืองต้องทำให้ประชาชน “ไว้วางใจ” หรือ TRUST ว่า ประชาชนทุกคนจะได้รับความเป็นธรรมเหมือนกันในทุกๆ เรื่องของ ชีวิตอย่างทั่วถึง เช่น การช่วยเหลือจากรัฐบาลในยามเกิดภัยพิบัติ การครอบครองทรัพยากรทางธรรมชาติ ความก้าวหน้าในอาชีพการงาน การทำมาหา กิน การศึกษา และสุขภาพ ประการที่สอง ได้แก่ พรรคการเมืองต้องลดแรงกดดันของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะของ รัฐบาลเพื่อประโยชน์ของคณะบุคคลเฉพาะกลุ่ม และประการที่สาม ได้แก่ พรรคการเมืองต้องทำให้การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นไปตามกฎหมายในการ ควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมอย่างจริงจังต่อเนื่อง” ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าว

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.7 เป็นชาย ร้อยละ 50.3 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.9 อายุ น้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 24.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 26.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 24.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ 19.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 86.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 12.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 44.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 29.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 6.5 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 4.8 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.4 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 6.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อ บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 2.2ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา      ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน/เกือบทุกวัน                                        46.7
2          3-4 วันต่อสัปดาห์                                        26.4
3          1-2 วันต่อสัปดาห์                                        11.4
4          ติดตามเป็นบางสัปดาห์                                     11.6
5          ไม่ได้ติดตามเลย                                          3.9
          รวมทั้งสิ้น                                              100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง
ลำดับที่          การตัดสินใจเลือกของประชาชน                    ค่าร้อยละ
1          พรรคประชาธิปัตย์                                   26.4
2          พรรคเพื่อไทย                                      25.5
3          พรรคอื่นๆ                                         15.4
4          ไม่เลือกพรรคใด กำลังมองหาพรรคการเมืองที่ดีกว่า          32.7
                              รวมทั้งสิ้น                     100.0

ตารางที่ 3  แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจำแนกตามเพศ
ลำดับที่          พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก  ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง          เพศชายค่าร้อยละ          เพศหญิงค่าร้อยละ
1          พรรคประชาธิปัตย์                                              25.7                    27.1
2          พรรคเพื่อไทย                                                 27.4                    23.6
3          พรรคอื่นๆ                                                    15.4                    15.4
4          ไม่เลือกพรรคใด กำลังมองหาพรรคการเมืองที่ดีกว่า                     31.5                    33.9
          รวมทั้งสิ้น                                                    100.0                   100.0

ตารางที่ 4  แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจำแนกตามช่วงอายุ
ลำดับที่          พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก      ต่ำกว่า 20 ปี     20-29ปี        30-39ปี        40-49 ปี       50ปีขึ้นไป
             ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง               ค่าร้อยละ       ค่าร้อยละ       ค่าร้อยละ       ค่าร้อยละ       ค่าร้อยละ
1          พรรคประชาธิปัตย์                     24.2          25.7          26.2          26.8          27.7
2          พรรคเพื่อไทย                        27.4          23.5          23.8          26.9          27.9
3          พรรคอื่นๆ                           18.6          16.3          15.1          15.9          13.1
4          ไม่เลือกพรรคใด กำลังมองหาพรรคที่ดีกว่า   29.8          34.5          34.9          30.4          31.3
          รวมทั้งสิ้น                           100.0         100.0         100.0         100.0         100.0

ตารางที่ 5  แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจำแนกตามระดับการศึกษาชั้นสูงสุดที่สำเร็จมา
ลำดับที่          พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก  ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง   ต่ำกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ   ป.ตรีค่าร้อยละ   สูงกว่าป.ตรีค่าร้อยละ
1          พรรคประชาธิปัตย์                                        26.4              27.3           28.6
2          พรรคเพื่อไทย                                           26.3              19.6           19.0
3          พรรคอื่นๆ                                              14.9              18.1           19.0
4          ไม่เลือกพรรคใด กำลังมองหาพรรคที่ดีกว่า                      32.4              35.0           33.4
          รวมทั้งสิ้น                                              100.0             100.0          100.1

ตารางที่ 6 แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจำแนกตามอาชีพ
ลำดับที่      พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก   ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ   พนักงานบริษัท    ธุรกิจ/ค้าขาย   นักเรียนนักศึกษา  เกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง

1          พรรคประชาธิปัตย์                  24.0            24.7           28.2          25.4           27.2
2          พรรคเพื่อไทย                     14.6            24.7           24.5          22.5           26.7
3          พรรคอื่นๆ                        20.2            17.3           14.6          20.2           14.3
4          ไม่เลือกพรรคใด                   41.2            33.3           32.7          31.9           31.8
          รวมทั้งสิ้น                        100.0           100.0          100.0         100.0          100.0

ตารางที่ 7  แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
ลำดับที่      พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก    ต่ำกว่า       5,001-      10,001-      15,001-    มากกว่า20,000
           ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง       5,000 บาท     10,000       15,000       20,000
1          พรรคประชาธิปัตย์             24.3         31.2        31.4          31.9          30.1
2          พรรคเพื่อไทย                27.2         23.7        19.5          20.5          24.3
3          พรรคอื่นๆ                   16.2         13.6        14.4          14.3          17.6
4          ไม่เลือกพรรคใด              32.3         31.5        34.7          33.3          28.0
          รวมทั้งสิ้น                   100.0        100.0       100.0         100.0          100.0

ตารางที่ 8  แสดงร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่          พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก  ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง  เหนือ    กลาง   ตะวันออกเฉียงเหนือ   ใต้    กทม.
1          พรรคประชาธิปัตย์                                  24.6   22.5         16.6       71.5   21.0
2          พรรคเพื่อไทย                                     29.7   16.3         33.2        3.0   33.0
3          พรรคอื่นๆ                                        12.8   14.2         20.8        5.1   16.5
4          ไม่เลือกพรรคใด                                   32.9   47.0         29.4       20.4   29.5
          รวมทั้งสิ้น                                        100.0  100.0        100.0      100.0  100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ