เอแบคโพลล์: การจับจ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีน

ข่าวผลสำรวจ Wednesday January 18, 2012 15:03 —เอแบคโพลล์

“แม้ราคาของเซ่นไหว้ในปีมังกรทองนี้จะปรับตัวสูงขึ้นกว่าปีก่อนๆ แต่พี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนก็ยังคงจับจ่ายใช้สอยซื้อของเซ่นไหว้ จ่ายแต๊ะเอีย รวมถึงไปทำบุญตามประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างเคร่งครัด”

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ (Social Innovation Management and Business Analysis, SIMBA) โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากธนาคารกรุงศรีอยุธยาจำกัด มหาชน เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง การจับจ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีน: กรณีศึกษาคนไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 694 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 14-18 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา ผลสำรวจทั้งหมดนี้สามารถดึงข้อมูลได้ที่ www.abacpolldata.au.edu

กลุ่มตัวอย่างต่างระบุว่าของเซ่นไหว้ส่วนใหญ่นั้นมีราคาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะหมู เป็ด ไก่ ไข่ ผลไม้ ผัก รวมถึงกระดาษ โดยเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับของเซ่นไหว้เฉลี่ยอยู่ที่ 4,641 บาท และสูงสุด 80,000 บาท ซึ่งตัวอย่างเกือบครึ่งหรือร้อยละ 49.1 ระบุเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ขณะที่ร้อยละ 40.6 ระบุเท่าเดิม และร้อยละ 10.3 ระบุลดลง ส่วนสถานที่จับจ่ายใช้สอยในปีนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.2 ยังคงเป็นตลาดสด และร้อยละ 18.1 ไปซื้อที่ห้างสรรพสินค้า เฉพาะกลุ่มที่ซื้อในห้างฯ นี้ พบว่าจะใช้เงินสดมากกว่าบัตรเครดิต (ร้อยละ 85.7 และ 14.3 ตามลำดับ)

สำหรับการจ่ายแต๊ะเอีย พบว่าตัวอย่างร้อยละ 67.7 ระบุว่าตัวเองเป็นคนจ่าย ขณะที่ร้อยละ 32.3 ไม่ต้องจ่าย โดยจำนวนเงินแต๊ะเอียที่เตรียมไว้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 4,282 บาท และสูงสุด 50,000 บาท ซึ่งตัวอย่างกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 35.9 ระบุว่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่ร้อยละ 47.8 ระบุเท่าเดิม และร้อยละ 16.3 ระบุลดลง เมื่อถามถึงเหตุผลของการให้แต๊ะเอียเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ระบุว่า ปีนี้เป็นปีมังกรทองเป็นปีที่จะเจริญร่ำรวย เชื่อมั่นในเศรษฐกิจมากขึ้น และเชื่อว่าการให้แต๊ะเอียเพิ่มขึ้นจะทำให้ตนได้เองได้กลับมาเป็นร้อยเท่าพันเท่า

เมื่อสอบถามถึงแผนการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลตรุษจีน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 68.5 ไม่มีแผนท่องเที่ยว ขณะที่ ร้อยละ 31.5 ระบุมีแผน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.6 ตั้งใจจะท่องเที่ยวในประเทศ เช่น จังหวัดชลบุรี (พัทยา/บางแสน) กรุงเทพมหานคร ระยอง เชียงใหม่ เลย เป็นต้น โดยมีร้อยละ 12.4 ตั้งใจจะไปเที่ยวต่างประเทศ เช่น จีน ไต้หวัน มาเก๊า ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เป็นต้น

อย่างไรก็ดี พบว่าตัวอย่างร้อยละ 74.9 มีแผนจะไปทำบุญในช่วงเทศกาลตรุษจีน ขณะที่ร้อยละ 25.1 ระบุไม่มีแผน เฉพาะกลุ่มที่มีแผน พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.5 ตั้งใจจะไปวัดในกรุงเทพ เช่น วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ ศาลเจ้าพ่อเสือ เจ้าพ่อเห้งเจีย ศาลเจ้าพ่อกวนอู เป็นต้น โดยมีเพียงร้อยละ 1.5 ที่ตั้งใจจะไปวัดที่ต่างจังหวัด เช่น วัดพระปฐมเจดีย์ (นครปฐม) วัดพระพุทธบาท (สระบุรี) วัดหลวงปู่โต (นครราชสีมา) เป็นต้น

ทั้งนี้ พบว่าค่าใช้จ่ายที่เตรียมไว้สำหรับท่องเที่ยว/ทำบุญในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ เฉลี่ยอยู่ที่ 7,796 บาท และสูงสุด 300,000 บาท ซึ่งตัวอย่างประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 34.1 ระบุว่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่ร้อยละ 48.4 ระบุเท่าเดิม และร้อยละ 17.5 ระบุลดลง

นอกจากนี้เมื่อทำการประมาณการทางสถิติ พบว่า จะมีเงินสะพัดในช่วงเทศกาลตรุษจีนทั่วประเทศ 23,994,967,254 บาท โดยพบว่า จะมีวงเงินสะพัดจากค่าใช้จ่ายสำหรับซื้อของเซ่นไหว้ 11,140,906,140 บาท ค่าใช้จ่ายสำหรับเงินแต๊ะเอีย 6,958,959,014 บาท และค่าใช้จ่ายสำหรับท่องเที่ยว/ทำบุญ 5,895,102,100 บาท ตามลำดับ

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่าง ร้อยละ 44.3 เป็นชาย

และร้อยละ 55.7 เป็นหญิง

ร้อยละ 18.3 ระบุอายุ 21-30 ปี

ร้อยละ 44.5 ระบุอายุ 31-40 ปี

ร้อยละ 35.6 ระบุอายุ 41-50 ปี

ร้อยละ 1.6 ระบุอายุ 51-60 ปี

ตัวอย่าง ร้อยละ 50.6 ระบุรายได้ไม่เกิน 20,000 บาท

ร้อยละ 30.5 ระบุรายได้ 20,001—40,000

ร้อยละ 10.6 ระบุรายได้ 40,001—60,000

ร้อยละ 1.9 ระบุรายได้ 60,001—80,000

ร้อยละ 6.4 ระบุรายได้ 80,001 บาท ขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 52.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี

ร้อยละ 44.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 3.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุราคาของเซ่นไหว้เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
 ลำดับที่          ราคาของเซ่นไหว้เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา      เพิ่มขึ้น           เท่าเดิม           ลดลง          รวมทั้งสิ้น
  1             หมู                                   74              23              3              100
  2             เป็ด                                  70              26              4              100
  3             ไก่                                   67              29              5              100
  4             ไข่                                   62              33              6              100
  5             ผลไม้                                 59              37              4              100
  6             ผัก                                   58              37              6              100
  7             กระดาษ                               52              45              3              100
  8             ขนมไหว้ เช่น ขนมเข่ง ขนมเทียน            49              47              4              100
  9             ดอกไม้                                47              49              4              100
  10            เหล้า                                 44              49              7              100
  11            ธูป เทียน                              43              54              3              100

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุค่าใช้จ่ายที่เตรียมไว้สำหรับซื้อของเซ่นไหว้
ลำดับที่          ค่าใช้จ่ายที่เตรียมไว้สำหรับซื้อของเซ่นไหว้          ร้อยละ
1          ไม่เกิน 2,000 บาท                              37.0
2          2,001 — 4,000 บาท                            28.7
3          4,001 — 6,000 บาท                            17.7
4          6,001 บาทขึ้นไป                                16.6
          รวมทั้งสิ้น                                      100.0

*ค่าเฉลี่ย 4,641 บาท ค่าสูงสุด 80,000 บาท

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุค่าใช้จ่ายที่เตรียมไว้สำหรับซื้อของเซ่นไหว้เทียบกับปีที่ผ่านมา
ลำดับที่          ค่าใช้จ่ายที่เตรียมไว้สำหรับซื้อของเซ่นไหว้เทียบกับปีที่ผ่านมา       ร้อยละ
1          เพิ่มขึ้น                                                   49.1
2          เท่าเดิม                                                  40.6
3          ลดลง                                                    10.3
          รวมทั้งสิ้น                                                 100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสถานที่ที่ซื้อของเซ่นไหว้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          สถานที่ที่ซื้อของเซ่นไหว้                                   ร้อยละ
1          ตลาดสด                                                  87.2
2          ห้างสรรพสินค้า                                             18.1
           รูปแบบการจ่าย   - เงินสด             ร้อยละ 85.7
                         - บัตรเครดิต          ร้อยละ 14.3

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการจ่ายแต๊ะเอียในช่วงเทศกาลตรุษจีน
ลำดับที่          การจ่ายแต๊ะเอียในช่วงเทศกาลตรุษจีน          ร้อยละ
1          ตัวเองเป็นคนจ่าย                             67.7
2          ไม่ต้องจ่าย                                  32.3
          รวมทั้งสิ้น                                   100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนเงินแต๊ะเอียที่เตรียมไว้จ่าย
ลำดับที่          จำนวนเงินแต๊ะเอียที่เตรียมไว้จ่าย       ร้อยละ
1          ไม่เกิน 1,000 บาท                     46.1
2          1,001 — 2,000 บาท                   17.7
3          2,001 — 3,000 บาท                   11.5
4          3,001 — 4,000 บาท                    3.5
5          4,001 — 5,000 บาท                    8.4
6          5,001 บาทขึ้นไป                       12.8
          รวมทั้งสิ้น                             100.0

*ค่าเฉลี่ย 4,282 บาท ค่าสูงสุด 50,000 บาท

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเงินแต๊ะเอียที่เตรียมไว้จ่ายเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ลำดับที่          เงินแต๊ะเอียที่เตรียมไว้จ่ายเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา       ร้อยละ
1          เพิ่มขึ้น                                           35.9
2          เท่าเดิม                                          47.8
3          ลดลง                                            16.3
          รวมทั้งสิ้น                                         100.0

ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่มีแผนท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลตรุษจีน
ลำดับที่          การมีแผนท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลตรุษจีน                                                       ร้อยละ
1          มีแผน                                                                                     31.5

สถานที่ - ในประเทศ เช่น ชลบุรี (พัทยา/บางแสน) วัดในกรุงเทพฯ ระยอง เชียงใหม่ เลย เป็นต้น ร้อยละ 87.6

                 - ต่างประเทศ เช่น จีน ไต้หวัน มาเก๊า ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เป็นต้น                    ร้อยละ 12.4
2          ไม่มีแผน                                                                                   68.5
          รวมทั้งสิ้น                                                                                  100.0

ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่มีแผนจะไปทำบุญในช่วงเทศกาลตรุษจีน
ลำดับที่          การมีแผนจะไปทำบุญในช่วงเทศกาลตรุษจีน                                                       ร้อยละ
1          มีแผน                                                                                       74.9

สถานที่ - วัดในกรุงเทพฯ เช่น วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์

                    ศาลเจ้าพ่อเสือ  เจ้าพ่อเห้งเจีย ศาลเจ้าพ่อกวนอู เป็นต้น                          ร้อยละ 98.5
  • วัดที่ต่างจังหวัด เช่น วัดพระปฐมเจดีย์ (นครปฐม)วัดพระพุทธบาท (สระบุรี)
                    วัดหลวงปู่โต (นครราชสีมา) เป็นต้น                                          ร้อยละ 1.5
2          ไม่มีแผน                                                                                     25.1
          รวมทั้งสิ้น                                                                                    100.0

ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุค่าใช้จ่ายที่เตรียมไว้สำหรับท่องเที่ยว/ทำบุญ
ลำดับที่          ค่าใช้จ่ายที่เตรียมไว้สำหรับท่องเที่ยว/ทำบุญ         ร้อยละ
1          ไม่เกิน 2,000 บาท                              43.5
2          2,001 — 4,000 บาท                            12.8
3          4,001 — 6,000 บาท                            16.9
4          6,001 — 8,000 บาท                             4.1
5          8,001 — 10,000 บาท                           11.0
6          10,001 บาทขึ้นไป                               11.7
          รวมทั้งสิ้น                                      100.0

*ค่าเฉลี่ย 7,796 บาท ค่าสูงสุด 300,000 บาท

ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุค่าใช้จ่ายที่เตรียมไว้สำหรับท่องเที่ยว/ทำบุญเทียบกับปีที่ผ่านมา
ลำดับที่          ค่าใช้จ่ายที่เตรียมไว้สำหรับท่องเที่ยว/ทำบุญเทียบกับปีที่ผ่านมา        ร้อยละ
1          เพิ่มขึ้น                                                     34.1
2          เท่าเดิม                                                    48.4
3          ลดลง                                                      17.5
          รวมทั้งสิ้น                                                   100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าประมาณการจำนวนเงินที่เตรียมไว้ใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีน
ลำดับที่     การใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีน      ค่าประมาณการจำนวนเงินที่เตรียมไว้ใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีนจำนวน (บาท)
1     ค่าใช้จ่ายสำหรับซื้อของเซ่นไหว้                              11,140,906,140

(หนึ่งหมื่นหนึ่งพันหนึ่งร้อยสี่สิบล้านเก้าแสนหกพันหนึ่งร้อยสี่สิบบาท)

2     เงินแต๊ะเอีย                                             6,958,959,014

(หกพันเก้าร้อยห้าสิบแปดล้านเก้าแสนห้าหมื่นเก้าพันสิบสี่บาท)

3     ค่าใช้จ่ายสำหรับท่องเที่ยว/ทำบุญ                              5,895,102,100

(ห้าพันแปดร้อยเก้าสิบห้าล้านหนึ่งแสนสองพันหนึ่งร้อยบาท)

          รวมทั้งสิ้น                                          23,994,967,254

(สองหมื่นสามพันเก้าร้อยเก้าสิบสี่ล้านเก้าแสนหกหมื่นเจ็ดพันสองร้อยห้าสิบสี่บาท)

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ