เอแบคโพลล์: ชีวิตพอเพียงกับความสุขมวลรวมของประชาชนประจำเดือนมกราคม 2552

ข่าวผลสำรวจ Tuesday February 10, 2009 07:34 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ชีวิตพอเพียง กับความสุขมวลรวมของประชาชนประจำเดือนมกราคม 2552 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้ที่พักอาศัยอยู่ใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพ มหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ลพบุรี จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุรินทร์ อุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย เชียงใหม่ สุโขทัย พิษณุโลก นครศรีธรรมราช และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,170 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 24 มกราคม — 7 กุมภาพันธ์ 2552

ดร.นพดล กล่าวว่า จากการประเมินผลค่าความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศ หรือ Gross Domestic Happiness, GDH ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่าความสุขมวลรวมของประชาชนเริ่มลดลงจาก 6.81 ในปลายเดือนธันวาคม 2551 มา อยู่ที่ 6.59 ในเดือนมกราคม 2552

ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ปัจจัยที่ยังคงเป็นปัจจัยติดค่าบวกโดยมีค่าเพิ่มขึ้นในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ความจงรักภักดี อยู่ที่ 9.21 คะแนน บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ได้ 8.04 คะแนน วัฒนธรรมประเพณี สิ่งที่ดีงามในสังคมไทย ได้ 7.49 บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนใน ชุมชน ได้ 7.05 การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดี ได้ 6.99 และสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เช่น ถนน ไฟฟ้า ดิน อากาศ น้ำ ได้ 6.87 คะแนน

อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงคือ ปัจจัยที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยลดต่ำลง ได้แก่ สุขภาพกายลดลงจาก 7.39 มาอยู่ที่ 7.35 สุขภาพใจลดลงจาก 7.36 มาอยู่ที่ 7.33 หน้าที่การงานและอาชีพลดลงจาก 6.65 มาอยู่ที่ 5.77 ความเป็นธรรมในสังคมที่ได้รับ ลดลงจาก 5.72 มาอยู่ที่ 5.28 ความสุขต่อสภาวะเศรษฐกิจของตัวผู้ตอบแบบสอบถามลดลงจาก 4.98 มาอยู่ที่ 4.43 ความสุขต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ลดลงจาก 3.26 มาอยู่ ที่ 3.09 และความสุขต่อสถานการณ์การเมืองลดลงจาก 3.07 มาอยู่ที่ 3.01

ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อวิเคราะห์การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน พบว่า ร้อยละ 10.0 ได้ใช้ชีวิตพอเพียงอย่าง เคร่งครัดแท้จริง ร้อยละ 36.1 ใช้ชีวิตค่อนข้างพอเพียง ร้อยละ 39.1 ใช้ชีวิตไม่ค่อยพอเพียง และร้อยละ 14.8 ใช้ชีวิตไม่พอเพียง โดยอุปสรรค สำคัญต่อการใช้ชีวิตพอเพียงของประชาชน 5 ประการที่ค้นพบในการวิจัยครั้งนี้คือ ร้อยละ 64.8 ยังคงเล่นอบายมุข เล่นหวยและการพนันในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 53.1 คิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ ร้อยละ 47.4 จะเดือดร้อนต้องพึ่งพาคนอื่นทันที ถ้าไม่มี รายได้เดือนนี้ ร้อยละ 40.5 อยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ โดยไม่วางแผนล่วงหน้า และร้อยละ 31.9 เมื่อซื้อของหรือสินค้ามาแล้ว ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่าง เต็มที่

อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยค้นพบว่า กลุ่มประชาชนที่ใช้ชีวิตพอเพียงอย่างเคร่งครัดแท้จริงมีค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวมสูงที่สุดคือ 6.85 กลุ่มคนที่ ใช้ชีวิตค่อนข้างพอเพียงได้ 6.83 กลุ่มคนที่ใช้ชีวิตไม่ค่อยพอเพียงได้ 6.39 และกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตไม่พอเพียงได้ค่าเฉลี่ยความสุขต่ำสุดในการวิจัยครั้งนี้ คือ 6.24 ตามลำดับ

ผ.อ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า สิ่งที่ทำให้ประชาชนมีความสุขไม่ได้ขึ้นอยู่กับแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเพียงอย่าง เดียว เพราะสิ่งที่ค้นพบในงานวิจัยครั้งนี้เห็นได้ชัดเจนว่า ความสุขของประชาชนที่ลดลงยังเกี่ยวข้องกับเรื่องของความไม่เป็นธรรมในสังคม ความรู้สึก ไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน สุขภาพกาย สุขภาพใจ สถานการณ์การเมืองโดยรวมของประเทศ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ทำให้คนไทยมีความสุขอยู่ได้เพราะมี เรื่องความจงรักภักดี ความรักความสัมพันธ์ของคนภายในครอบครัว วัฒนธรรมและสิ่งที่ดีงามในสังคมไทย สภาพแวดล้อมและบรรยากาศความสัมพันธ์ของ คนในชุมชน จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลน่าจะให้ความสำคัญโดยนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นประธานขับเคลื่อนด้วยตนเองในมิติทางสังคมและ การเมืองอย่างจริงจังควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน โดยต้องรักษาและหนุนเสริมให้ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนทำให้คนไทยมีความสุขจากการ วิจัยครั้งนี้เพิ่มสูงขึ้นและคงอยู่ตลอดไป

รายละเอียดงานวิจัย

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
          1.          เพื่อสำรวจชีวิตพอเพียงกับความสุขมวลรวมของประชาชนประจำเดือนมกราคม 2552
          2.          เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR : แองเคอร์) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง ชีวิตพอเพียงกับความสุขมวลรวมของ ประชาชนประจำเดือนมกราคม 2552 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้ที่พักอาศัยอยู่ใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ลพบุรี จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุรินทร์ อุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย เชียงใหม่ สุโขทัย พิษณุโลก นครศรีธรรมราช และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,170 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 24 มกราคม — 7 กุมภาพันธ์ 2552 กลุ่ม ประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับ ประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจ สอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น 103 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 50.6 เป็นหญิง ร้อยละ 49.4 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 6.1 อายุต่ำ กว่า 20 ปี ร้อยละ 17.2 อายุ 20 — 29 ปี ร้อยละ 22.6 อายุ 30 — 39 ปี ร้อยละ 24.2 อายุ 40 — 49 ปี และร้อยละ 29.9 อายุ 50 ปีขึ้น ไป โดยร้อยละ 43.2 อาชีพเกษตรกร/รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป ร้อยละ 29.5 ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว อาชีพอิสระ บริษัทเอกชน ร้อยละ 9.5 เป็น ข้าราชการ ร้อยละ 6.6 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 6.5 เป็นแม่บ้าน เกษียณอายุ ร้อยละ 3.8 ไม่ประกอบอาชีพ ว่างงาน ทั้งนี้ร้อยละ 0.9ไม่ระบุอาชีพ ประจำที่ทำอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ร้อยละ 77.2 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 22.8 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป

ตารางที่ 1 แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศประจำเดือนมกราคม 2552
เปรียบเทียบกับช่วงเวลาต่างๆ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2550 เมื่อคะแนนเต็ม 10
                          ม.ค.50   เม.ย.50    พ.ค.-   ต.ค.50   เม.ย.51   ก.ค.51    ส.ค.51   ก.ย.51   ต.ค.51    พ.ย. —   ปลายเดือน   มกราคม
 ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม                    ก.ค.50                                                            ธ.ค.51    ธ.ค.51      2552
ของคนไทยภายในประเทศ
(Gross Domestic Happiness)  5.68     5.11     5.02      6.9       6.3     6.08      5.82    5.64      4.84     6.55      6.81      6.59

ตารางที่ 2  แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่    กลุ่มปัจจัยต่างๆ                                 ค่าคะแนนความสุข        ค่าคะแนนความสุข      เพิ่มขึ้น (+)

โดยเฉลี่ย(ปลาย ธ.ค. 51) โดยเฉลี่ย (ม.ค. 52) หรือ ลดลง (-)

  1   ความจงรักภักดี                                           9.19              9.21              +
  2   บรรยากาศ ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว                      7.88              8.04              +
  3   สุขภาพกาย                                              7.39              7.35              -
  4   สุขภาพใจ                                               7.36              7.33              -
  5   สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย  เช่น ถนน ไฟฟ้า ดิน อากาศ น้ำ           6.78              6.87              +
  6   วัฒนธรรมประเพณีไทย/สิ่งที่ดีงามในสังคมไทย                     6.76              7.49              +
  7   หน้าที่การงาน /อาชีพ                                      6.65              5.77              -
  8   บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน                          6.31              7.05              +
  9   การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดีที่ท่านได้รับ                  6.28              6.99              +
  10  ความเป็นธรรม/ไม่เป็นธรรมทางสังคมที่ท่านได้รับ                  5.72              5.28              -
  11  สภาวะเศรษฐกิจของตัวท่าน                                  4.98              4.43              -
  12  สภาวะเศรษฐกิจของประเทศชาติ                              3.26              3.09              -
  13  สถานการณ์การเมืองโดยภาพรวมของประเทศ                     3.07              3.01              -
          ความสุขมวลรวม ของคนไทย                             6.8               6.6

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน
ลำดับที่          การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน      ค่าร้อยละ
1          ไม่พอเพียง                                         14.8
2          ไม่ค่อยพอเพียง                                      39.1
3          ค่อนข้างพอเพียง                                     36.1
4          พอเพียงอย่างเคร่งครัด                                10.0
          รวมทั้งสิ้น                                          100.0

ตารางที่ 4 แสดงอุปสรรค 5 ประการที่ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตแบบพอเพียงได้อย่างเคร่งครัด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          อุปสรรค 5 ประการที่ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตพอเพียงได้อย่างเคร่งครัด          ค่าร้อยละ
1          เล่นอบายมุข เช่น เล่นหวยและการพนัน ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา                   64.8
2          คิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการประกอบธุรกิจ                   53.1
3          จะเดือดร้อนต้องพึ่งพาคนอื่นทันที ถ้าไม่มีรายได้เดือนนี้                            47.4
4          อยากซื้ออะไรก็ซื้อ โดยไม่วางแผนล่วงหน้า                                    40.5
5          ซื้อของ หรือสินค้ามาแล้ว ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่                           31.9

ตารางที่ 5 แสดงค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชน จำแนกตามกลุ่มคนที่ประยุกต์ใช้ชีวิตพอเพียง

กลุ่มคนที่ใช้ชีวิตไม่พอเพียง กลุ่มคนที่ใช้ชีวิตไม่ค่อยพอเพียง กลุ่มคนที่ใช้ชีวิตค่อนข้างพอเพียง กลุ่มคนที่ใช้ชีวิตพอเพียงอย่างเคร่งครัด

ค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวม          6.24                 6.39                       6.83                    6.85

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ