สวนดุสิตโพลล์: “การเมือง เศรษฐกิจ สังคม” ปี 2555 ในสายตาประชาชน

ข่าวผลสำรวจ Wednesday January 4, 2012 07:15 —สวนดุสิตโพล

“คอร์รัปชั่น สินค้าแพง สังคมเสื่อมโทรม” ยังสร้างความกังวลให้กับประชาชน ในปี 2555 !!!

ในช่วงเทศกาลปีใหม่ของทุกๆปี ประชาชนต่างมีความคาดหวังและเปรียบเทียบปีเก่าที่ผ่านไปกับปีใหม่ที่มาถึง โดยวาดหวังว่าในปีใหม่นี้จะมีอะไรที่ดีขึ้น เพื่อสะท้อนความคิดเห็นและแสวงหาแนวทางแก้ไขที่เป็นรูปธรรม “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,114 คน ระหว่างวันที่ 20 — 31 ธันวาคม 2554 สรุปผลได้ดังนี้

1. เมื่อพูดถึง “การเมือง” ประชาชนกังวลเรื่องอะไร?
อันดับ 1          การทุจริต คอร์รัปชั่น /แสวงหาผลประโยชน์ทางการเมืองจากงบประมาณในเรื่องต่างๆ            47.82%
อันดับ 2          ความขัดแย้ง การแตกแยก แตกความสามัคคี /การใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาทางการเมือง      34.78%
อันดับ 3          การบริหารงานของรัฐบาล การแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการแก้ไขรธน.และอภัยโทษ       17.40%

2. เปรียบเทียบ “การเมือง” ปี 2555 กับ ปี 2554 ที่ผ่านมา ในสายตาประชาชน
อันดับ 1          คงจะวุ่นวายเหมือนเดิม                       42.72%
เพราะ   ทั้งสภาพการเมืองไทยและพฤติกรรมของนักการเมืองส่วนใหญ่ยังเป็นเหมือนเดิม ,จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญการเลือกตั้ง การเมืองท้องถิ่นที่แข่งขันกันรุนแรง ฯลฯ
อันดับ 2          การเมือง ปี 55 น่าจะดีกว่า ปี 54              38.83%
เพราะ   รัฐบาลผ่านช่วงวิกฤตน้ำท่วมมาแล้ว คงจะเดินหน้าสานต่อนโยบายต่างๆที่ประกาศไว้อย่างเต็มที่ ,รัฐบาลเริ่มตั้งหลักได้ จะมีกลุ่มบ้านเลขที่ 111 พ้นโทษทางการเมืองมาช่วยเหลือ ฯลฯ
อันดับ 3          การเมือง ปี 55 น่าจะแย่กว่า ปี 54             18.45%
เพราะ   ความรุนแรงทางการเมืองที่มีมากขึ้น ,นโยบาย แนวทางต่างๆของรัฐบาลอาจสร้างความไม่พอใจให้กับคนบางกลุ่ม ,นักการเมืองแก่งแย่งอำนาจกันมากขึ้น ฯลฯ

3. เมื่อพูดถึง “เศรษฐกิจ” ประชาชนกังวลเรื่องอะไร?
อันดับ 1          ข้าวของแพง /สินค้าขาดตลาด /ค่าครองชีพสูง                                      52.17%
อันดับ 2          การว่างงาน ตกงาน /รายได้ลดลง เนื่องจากถูกเลิกจ้าง สถานประกอบการปิดตัวลง          30.26%
อันดับ 3          ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ค่าเงินบาท /ภาวะเงินเฟ้อ /การกู้เงินจากต่างประเทศ          17.57%

4. เปรียบเทียบ “เศรษฐกิจ” ปี 2555 กับ ปี 2554 ที่ผ่านมา ในสายตาประชาชน
อันดับ 1          เศรษฐกิจ ปี 55 น่าจะดีกว่า ปี 54                44.24%
เพราะ   หลังเหตุการณ์น้ำท่วม รัฐบาลคงต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นและดึงนักลงทุนจากต่างประเทศให้กลับมาเหมือนเดิม ,เม็ดเงินจากประชานิยมจะทำให้การใช้จ่ายภาคประชาชนดีขึ้น ฯลฯ
อันดับ 2          เศรษฐกิจ ปี 55 น่าจะแย่กว่า ปี 54               28.30%
เพราะ   จากพิษน้ำท่วมสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติและประชาชนอย่างมาก ต้องใช้เวลาเยียวยา ฟื้นฟูอีกนาน ,ผลกระทบด้านการเมืองที่วุ่นวายและเศรษฐกิจโลกย่ำแย่ ฯลฯ
อันดับ 3          สภาพเศรษฐกิจยังคงเหมือนเดิม                   27.46%
เพราะ   ประชาชนยังต้องดิ้นรน กู้หนี้ยืมสินมาเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องและซ่อมแซมที่อยู่อาศัยจากน้ำท่วม ,ภาครัฐและเอกชนยังคงต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจอีกนานพอสมควร และรวมทั้งการเมืองก็ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ ฯลฯ

5. เมื่อพูดถึง “สังคมไทย” ประชาชนกังวลเรื่องอะไร?
อันดับ 1          ความเสื่อมโทรมของสังคมโดยเฉพาะ ยาเสพติด อาชญากรรม อบายมุข และภัยสังคมต่างๆ                   53.57%
อันดับ 2          การดำเนินชีวิตของประชาชน /คุณธรรม ศีลธรรมทางสังคมโดยเฉพาะการเลี้ยงดูบุตรหลาน                   25.04%
อันดับ 3          ภัยธรรมชาติต่างๆ เรื่องของการบุกรุกทำลายป่า ไม่รักษาสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดภัยธรรมชาติ/น้ำท่วมและแผ่นดินไหว  21.39%

6. เปรียบเทียบ “สังคมไทย” ปี 2555 กับ ปี 2554 ที่ผ่านมา ในสายตาประชาชน
อันดับ 1          สังคมไทยคงจะเหมือนเดิม                     40.65%
เพราะ   ถ้าหากกฎหมาย บทลงโทษของบ้านเมืองไม่เคร่งครัด  เจ้าหน้าที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ , คนในสังคมไม่ร่วมมือกันก็จะทำให้สภาพสังคมย่ำแย่เหมือนปีที่ผ่านมา ฯลฯ
อันดับ 2          สังคมไทย ปี 55 น่าจะดีกว่า ปี 54              35.77%
เพราะ   บทเรียนจากน้ำท่วมทำให้คนไทยรักใคร่สามัคคีกัน มีจิตอาสามากขึ้น ได้ร่วมทุกข์ร่วมสุข เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันหันมาสนใจให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในสังคม ฯลฯ
อันดับ 3          สังคมไทย ปี 55 น่าจะแย่กว่า ปี 54             23.58%
เพราะ   ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ลำบาก สภาวะจิตใจที่เสื่อมถอย ภัยสังคมมีมากขึ้น ,การได้รับอิทธิพลและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ฯลฯ


--สวนดุสิตโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ