รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 12 - 16 พฤศจิกายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 19, 2012 11:15 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary
Indicators this week
  • รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรร ให้ อปท.) ในเดือน ต.ค.55 ได้จำนวน 148.0 พันล้านบาท

หรือขยายตัวร้อยละ 11.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ เดือน ต.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 19.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ในขณะที่ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวม ขยายตัวร้อยละ 78.8

  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ต.ค. 55 มีจำนวนทั้งสิ้น 1.7 ล้านคน

ขยายตัวร้อยละ 20.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

  • สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 55 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.25 ล้านล้านบาท
  • GDP ไตรมาส 3 ปี 55 ยูโรโซน (ตัวเลขเบื้องต้น) หดตัวที่ร้อยละ -0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

หรือ หดตัวร้อยละ -0.1 จาก ไตรมาสก่อน

  • GDP ญี่ปุ่นไตรมาส 3 ปี 55 ขยายตัวชะลอลง มาอยู่ที่ร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

หรือหดตัวร้อยละ -0.9 จากไตรมาสก่อน

  • GDP สิงคโปร์ไตรมาส 3 ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำกว่าที่คาดการณ์

ที่ร้อยละ 1.3 หรือคิดเป็นหดตัวร้อยละ -1.5 จากไตรมาสก่อน

Indicators next week
 Indicators                          Forecast             Previous
 Oct : TISI (Index)                    95.0                  94.1

แต่ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่อยู่ในระดับที่ไม่ดี โดยเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับต้นทุนการผลิตที่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงจากราคาพลังงาน ราคาวัตถุดิบ และค่าจ้างแรงงาน นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมบางส่วนก็ยังคงเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

Economic Indicators: This Week
  • รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรร ให้ อปท.) ในเดือน ต.ค.55 ได้จำนวน 148.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.0 พันล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือร้อยละ 11.3 และสูงกว่าประมาณการ 3.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.1 โดย (1) ภาษีฐานรายได้จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (2) ภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบด้วยภาษีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับอากรขาเข้าที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 38.1 และภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนถึงการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับภาษีฐานรายได้ที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น และ (3) ภาษีรถยนต์จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมากกว่าประมาณการร้อยละ 45.2 เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์มีการเปิดตัวรถยนต์ใหม่ออกสู่ตลาด ประกอบกับแรงจูงใจจากนโยบายรถยนต์คันแรกที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อเพิ่มขึ้น โดยปริมาณรถยนต์ที่เสียภาษีในเดือนนี้เท่ากับ 146.1 พันคัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นต้น
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือน ต.ค.55 มีมูลค่า 53.5 พันล้านบาท หรือขยายตัวที่ร้อยละ 19.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 32.6 ซึ่งแม้ว่าจะขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อน แต่ถือได้ว่ายังขยายตัวในเกณฑ์ดี ตามการขยายตัวต่อเนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ที่จัดเก็บบนฐานการบริโภคภายในประเทศและภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ที่จัดเก็บบนฐานการนำเข้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.8 และร้อยละ 30.8 ตามลำดับ สะท้อนถึงการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกปี 55 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 13.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน ต.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 78.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.6 ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยฐานที่ต่ำของช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าจากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงปลายปี 54 ขณะที่ในปัจจุบันความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคยังคงมีทิศทางปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนได้จากจำนวนที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ (ปรับฤดูกาล) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 55 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลอยู่ที่ 20,425 หน่วย ขณะที่ด้านอุปทาน (Supply) ของภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (ที่ปรับฤดูกาล) อยู่ที่ 23,587 หน่วย โดยเฉพาะอาคารชุด และที่อยู่อาศัยแนวราบเป็นหลัก
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ต.ค. 55 มีจำนวนทั้งสิ้น 1.7 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 20.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 2.1 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) โดยเป็นการขยายตัวได้ดีในทุกกลุ่มประเทศ ยกเว้นกลุ่มตะวันออกกลาง (สัดส่วนร้อยละ 3.1) ที่หดตัวร้อยละ -5.4 เนื่องจากปัญหาภายในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 55 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้วทั้งสิ้น 17.7 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 55 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.25 ล้านล้านบาท จากเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่เร่งขึ้นถึงร้อยละ 2.7 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ขณะที่สินเชื่อขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่ชะลอกว่าเงินฝาก โดยอยู่ที่ร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ทั้งนี้ เงินฝากที่คาดว่าจะขยายตัวดีต่อเนื่อง จากการแข่งขันเพื่อระดมทุนของธนาคารพาณิชย์ที่ยังคงจะเข้มข้นต่อเนื่อง ขณะที่อุปสงค์ในประเทศที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น จะส่งผลให้สินเชื่อขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่งผลให้คาดว่า ในช่วงที่เหลือของปี 55 สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จะอยู่ในระดับใกล้เคียงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก อาจส่งผลกระทบต่ออุปสงค์จากนอกประเทศ รวมถึงการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลต่อการขยายตัวของสินเชื่อ และสถานะของสภาพคล่องได้ในระยะต่อไป
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค. 55 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 95.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 94.1 แต่ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่อยู่ในระดับที่ไม่ดี โดยเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับต้นทุนการผลิตที่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงจากราคาพลังงาน ราคาวัตถุดิบ และค่าจ้างแรงงาน นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมบางส่วนก็ยังคงเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal
  • ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.3 จากเดือนก่อนหน้า ผลส่วนหนึ่งจากยอดขายรถยนต์และอุปกรณ์ก่อสร้างที่ชะลอตัวลง อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 55 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยราคาสินค้าพลังงานปรับตัวลดลง ในขณะที่ราคาอาหารสดปรับตัวสูงขึ้น
China: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 11.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 5 เดือน จากการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ที่ขยายตัวดีเนื่องจากการส่งสินค้าเพื่อรองรับเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ต.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนเนื่องจากมาตรการลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในภาคอสังหาริมทรัพย์ กระทบต่ออุตสาหกรรมก่อสร้างทำให้การนำเข้าอุปกรณ์และวัสดุก่อสร้างลดลงทำให้ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นที่ 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 9.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการใช้จ่ายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้สินค้าเหล็กและโลหะเหล็กซื้อขายและผลิตมากขึน
Eurozone GDP: worsening economic trend
  • ไตรมาส 3 ปี 55 (ตัวเลขเบื้องต้น) หดตัวที่ร้อยละ -0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือ หดตัวร้อยละ -0.1 จากไตรมาสก่อน ต่อเนื่องจากไตรมาส 2 ปี 55 ที่หดตัวร้อยละ -0.2 จากไตรมาสก่อนหน้าทำให้เศรษฐกิจยูโรโซนเข้าสู่ภาวะถดถอยเชิงเทคนิคแล้ว ผลจากเศรษฐกิจของประเทศที่ประสบปัญหาหนี้สาธารณะหดตัวต่อเนื่องและส่งผลกระทบไปยังกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 55 หดตัวร้อยละ -2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากวิกฤตหนี้สาธารณะที่เรื้อรังมากว่า 4 ปีโดยการผลิตสินค้าเชื้อเพลิงและสินค้าไม่คงทนหดตัวเร่งขึ้นเป็นสำคัญอัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 55 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Japan: worsening economic trend
  • GDP ไตรมาส 3 ปี 55 ขยายตัวชะลอลง มาอยู่ที่ร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -0.9 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากอุปสงค์ภายนอกที่ชะลอตัวลงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะ จีน ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 1 ผนวกกับประเด็นข้อพิพาทระหว่างจีนและญี่ปุ่นเรื่องกรรมสิทธิ์หมู่เกาะเตียวหยู/เซนกากุ ได้ส่งผลกระทบชัดเจนต่อภาคการส่งอออกและการลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศ อีกทั้ง ปัญหาหนี้สาธารณะยูโรโซนที่ยังคงไม่บรรเทาความรุนแรงลง เป็นสำคัญ
Singapore: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 3 ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำกว่าที่คาดการณ์ที่ร้อยละ 1.3 หรือคิดเป็นหดตัวร้อยละ -1.5 จากไตรมาสก่อน (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) จากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลงส่งผลต่อภาคการส่งออก ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ และภาคการเงินให้หดตัว มูลค่าการส่งออกและนำเข้า เดือน ต.ค. 55 กลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 1.6 และร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ จากปัจจัยฐานต่ำในปีก่อน ทำให้ดุลการค้าเกินดุลที่ 3.5 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ด้านยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 55 ขยายตัวในอัตราชะลอที่ร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายยานยนต์ที่ชะลอลงเป็นสำคัญ
Philippines: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 55 ขยายตัวร้อยละ 22.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากปัจจัยฐานต่ำในปีก่อน ทำให้การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (สัดส่วนร้อยละ 38.3 ของการส่งออกรวม) กลับมาขยายตัวเป็นบวก กอปรกับการส่งออกไปญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ขยายตัวดีขึ้นมากที่ร้อยละ 112.0 และ 16.2 ตามลำดับ
Malaysia: improving economic trend
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 55 กลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปสิงคโปร์และสหรัฐฯ ที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 19.9 และ 6.3 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปยังจีน ฮ่องกง และญี่ปุ่นหดตัว ด้านมิติสินค้า การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวดีที่ร้อยละ 35.4 ขณะที่มูลค่าการนำเข้า ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 9.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้ดุลการค้ายังคงเกินดุลที่ 6.5 พันล้านริงกิต
India: mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 55 หดตัวร้อยละ -0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 จากการการผลิตสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภคที่หดตัวเร่งขึ้น สะท้อนการบริโภคและการลงทุนที่ชะลอลงชัดเจน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 55 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 7.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการชะลอลงของราคาอาหารและพลังงานเป็นสำคัญ
South Korea: mixed signal
  • อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 55 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ของกำลังแรงงานรวม โดยจำนวนผู้ว่างงานลดลง 34,000 คนจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง มูลค่าการส่งออก (ตัวเลขปรับปรุง) เดือน ต.ค. 55 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนที่ร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการเร่งขึ้นของการส่งออกไปยังจีนและยูโรโซนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับมูลค่าการนำเข้า (ตัวเลขปรับปรุง) ที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้ดุลการค้าเกินดุลที่ 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดย ณ วันที่ 15 พ.ย. 55 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,274.04 จุด จากแรงเทขายของนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนต่างชาติเป็นสำคัญ จากความกังวลในประเด็นหน้าผาทางการคลัง (Fiscal cliff) ของสหรัฐฯ ประกอบกับตัวเลขทางเศรษฐกิจของยูโรโซนออกมาไม่ดี โดยระหว่างวันที่ 12 - 15 พ.ย. 55 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -7,505.98 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวสูงขึ้นในเกือบทุกช่วงอายุตราสาร จากความกังวลในประเด็น Fiscal cliff ตลอดจนการจราจลในกรีซ สเปน และโปรตุเกส เหตุจากมาตรการรัดเข็มขัดทางการคลัง ทำให้นักลงทุนเทขายพันธบัตร ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 12 - 15 พ.ย. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ -10,618.2 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาททรงตัว โดย ณ วันที่ 15 พ.ย. 55 ปิดที่ระดับ 30.71 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.07 สอดคล้องกับค่าเงินสกุลภูมิภาค โดยเฉพาะเงินริงกิตมาเลเซีย วอนเกาหลี สิงคโปร์ดอลลาร์ หยวน รวมไปถึงเงินยูโร ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนซึ่งเป็นเงินสกุลหลักในตระกร้าดัชนีค่าเงินบาท ทำให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.48 จากสัปดาห์ก่อนหน้า
  • ราคาทองคำค่อนข้างทรงตัว โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 15 พ.ย. 55 ปิดที่ 1,715.19 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ใกล้เคียงกับต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,727.74 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ