เอแบคโพลล์: แนวทางการพัฒนาด้านการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากทรัพยากรชีวภาพของชุมชนท้องถิ่น

ข่าวผลสำรวจ Tuesday January 17, 2012 11:06 —เอแบคโพลล์

ครั้งแรกวงการวิชาการ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ สหรัฐอเมริกา จับมือพันธมิตรมหาวิทยาลัยและหน่วยงานของรัฐในประเทศไทย พัฒนา เศรษฐกิจเพื่อชนบท

เช้าวันนี้ (อังคารที่ 17 มกราคม 2555) ที่โรงแรมทีเคพาเลส กรุงเทพมหานคร สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การ มหาชน) หรือ สพภ.ร่วมกับมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ได้จัดสัมมนาเพื่อนำเสนอผลการศึกษา เรื่องแนวทางการพัฒนาด้านการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์

ที่ผลิตจากทรัพยากรชีวภาพของชุมชนท้องถิ่นใน               3 กรณีศึกษา หลังจากที่นักศึกษาและคณาจารย์จากทั้งสามมหาวิทยาลัย ได้เข้าไป
ปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ตั้งแต่วันที่ 3 -16 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา

คุณจุฬารัตน์ นิรัติศยกุล ผู้ประสานงานในโครงการระหว่างประเทศไทยและมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า โครงการ ดังกล่าวนี้เป็นการดำเนินงานภายใต้โครงการ SMART หรือ the Student Multidisciplinary Applied Research Team (SMART) Program ของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ที่ต้องการให้นักศึกษาได้นำความรู้จากห้องเรียนไปปฏิบัติจริง ในลักษณะงานวิจัยร่วมเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้กับ ชุมชนในประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ทั่วโลก ทั้งนี้ มีหลักการ คือ “การออกแบบและคัดเลือกทีมวิจัยให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพปัญหาหรือความต้อง การของชุมชนท้องถิ่นแต่ละแห่ง” โดย SMART Team จะลงปฎิบัติงานในพื้นที่ศึกษาชุมชนในชนบท โดยพื้นที่ศึกษาได้แก่

(1) โครงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมือง จังหวัดตราด

(2) โครงการผลิตถ่านไม้ไผ่ชุมชนตำบลดงบัง อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี

(3) โครงการผ้าย้อมครามชุมชนตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร

ในปี 2555 นี้ นับเป็นครั้งแรกที่โครงการ SMART ได้จับมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศเจ้าบ้านและเลือกดำเนินงานกับประเทศไทยเป็น ประเทศแรก โดยมีสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือ ตั้งแต่ระยะเตรียมการ, ระยะ ดำเนินโครงการ SMART และภายหลังโครงการ SMART เสร็จสิ้นลง โดย สพภ. และมหาวิทยาลัยในประเทศเจ้าบ้าน จะยังคงทำหน้าที่ช่วยสนับสนุน และประสานงานระหว่างชุมชนท้องถิ่น และมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ จนกว่าโครงการของชุมชนท้องถิ่น จะสามารถดำเนินงานได้ด้วยตนเอง

การประชุมในวันอังคารที่ 17 มกราคม 2555 นี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาโครงการ SMART 2012 เบื้องต้น พร้อมรับ ฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมสัมมนา โดยคาดหวังว่า การดำเนินงานโครงการ SMART 2012 ครั้งนี้ จะเป็นแนวทางสร้างกลไก ความร่วมมือระหว่าง สพภ. และมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ รวมทั้ง จะเป็นการสร้างต้นแบบการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง สพภ.และสถาบันการศึกษา โดยอาศัยรูปแบบของโครงการ SMART มาปรับประยุกต์ให้เหมาะสมต่อไป ในการนี้คณะทำงานได้รับความร่วมมือจากศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกต การณ์และวิจัยความสุขชุมชน (Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) หรือศูนย์วิจัย ความสุขชุมชน สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในการประเมินผลการดำเนินงานเบื้องต้นนี้ด้วย

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า โดยภาพรวมของการประเมินเบื้องต้นด้วยการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและ เชิงปริมาณของทั้งสามโครงการ พบว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่อยากจะให้โครงการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพระดับชุมชนนี้ดำเนินต่อไป เพราะช่วยเพิ่ม รายได้และเป็นการประกอบธุรกิจเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ ค่าคะแนนของการประเมินตกอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดีถึงระดับดีทั้งในเรื่องกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ การบริการ บุคลากร และประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านมีสองกลุ่มที่ถูกศึกษาคือ กลุ่มที่เข้าร่วมโครงการและกลุ่มที่ไม่ เข้าร่วมโครงการ โดยพบว่า ชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ชุมชนจังหวัดตราดส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า ลำห้วยมีความสมบูรณ์ ยามค่ำคืนมีหิ่งห้อยบินออกมามากมาย อากาศดี เป็นธรรมชาติ และปลอดมลพิษ

“ชาวบ้านส่วนใหญ่อยากให้โครงการพัฒนาต่างๆ ที่ลงพื้นที่ตำบลห้วยแร้งนี้คำนึงถึงการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติไว้ และขอปฏิเสธ โครงการพัฒนาขนาดใหญ่แต่ต้องการการพัฒนาที่ทำงานร่วมกันอย่างแท้จริงระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่รัฐ นอกจากนี้ผลการประเมินคุณภาพบุคลากรเจ้า หน้าที่ของ สพภ. ยังพบว่า ชาวบ้านพอใจต่อการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนที่เป็นกันเอง และศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศน์ของตำบลห้วยแร้งมาก่อน แต่อยากให้ปรับปรุงเรื่องการติดต่อสื่อสารกับชาวบ้านในพื้นที่ โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย นอกจากนี้อยากให้มีการฝึกสอนภาษาอังกฤษให้ชาวบ้านเพื่อ เตรียมพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ” ดร.นพดล กล่าว

สำหรับผลการประเมินโครงการผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ชุมชน จังหวัดปราจีนบุรี นั้น ดร.นพดล กล่าวว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่พอใจต่อโครงการนี้ เพราะช่วยเพิ่มรายได้และเป็นการทำธุรกิจของชุมชนโดยใช้ไม้ไผ่ในชุมชนนำมาทำเป็นสินค้าชุมชน เช่น เครื่องจักสาน ถ่านไม้ไผ่ สบู่ และผลิตภัณฑ์ดับ กลิ่น เป็นต้น ชาวบ้านส่วนใหญ่มองว่า การประชาสัมพันธ์และเป้าหมายของโครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนนี้ชัดเจน เข้าใจง่าย เป็นรูปธรรม จับต้องได้ นอกจากนี้ ชาวบ้านอยากให้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพราะมีป่าไม้ไผ่ชุมชนบ้านโนนหินผึ้งเป็นแหล่งปลูกพืชสมุนไพรและมีอุทยานธรรมชาติ เพื่อการเรียนรู้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านต้องการความช่วยเหลือด้านการตลาด ช่องทางจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เพราะที่ผ่านมามีการลงพื้นที่ของเจ้า หน้าที่รัฐนำงบประมาณมาให้ผลิตแต่ไม่มีการช่วยเหลือด้านการตลาด ส่งผลให้สินค้าที่ผลิตออกมาขายไม่ออกและชาวบ้านบางส่วนไม่เข้าร่วมโครงการโดย หันไปประกอบอาชีพอื่น

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อประเมินโครงการย้อมผ้าครามในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ก็พบว่า ผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ที่ชาวบ้านต้องการให้ ดำเนินการต่อไปทั้งในกระบวนการผลิต บุคลากร ผลิตภัณฑ์ และประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ ถึงแม้ว่าสิ่งที่ชาวบ้านได้รับหรือเห็นจริงจะต่ำกว่าความ คาดหวังในหลายประการก็ตาม เช่น การประชาสัมพันธ์โครงการ การร่วมมือกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับชาวบ้าน และความเพียงพอของบุคลากรใน โครงการ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจพบว่า ชาวบ้านผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ระบุว่าหลังเข้าร่วมโครางการรายได้ของพวกเขาสูงขึ้นโดย ปัจจุบัน ผู้เข้าร่วมโครงการมีรายได้เฉลี่ยในจังหวัดตราดอยู่ที่ 20,833 บาทต่อเดือน จังหวัดปราจีนบุรีอยู่ที่ 14,125 บาทต่อเดือน และจังหวัดสกลนคร อยู่ที่ 9,714 บาท ตามลำดับ

ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลการประเมินเบื้องต้นพบว่าโครงการพัฒนาเศรษฐกิจของ สพภ. เป็นสิ่งที่น่าส่งเสริมและรักษาไว้ เพราะเป็นไปตามหลักการของการพัฒนาประเทศที่เพิ่มความสุขให้แก่ชาวบ้านและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน โดยแนวทางการ พัฒนาเศรษฐกิจชายขอบ (Marginal Economy) เป็นการมุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนที่มักจะถูกละเลยหรือมองข้ามไปจากแนวทางการพัฒนา เศรษฐกิจเชิงวัตถุนิยมและทุนนิยมในเมืองใหญ่ ดังนั้น ฝ่ายการเมืองและกลไกของรัฐอาจนำข้อมูลและสิ่งที่ค้นพบจากการศึกษาวิจัยโครงการต่างๆ ใน พื้นที่จังหวัดตราด ปราจีนบุรีและสกลนคร ไปศึกษาอย่างลึกซึ้งและขยายผลเพื่อหาแนวทาง “ปลดอคติแห่งมหานคร” ที่นโยบายการพัฒนาประเทศมักจะตก อยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มผลประโยชน์จากกลุ่มทุนในเมืองใหญ่และประเทศมหาอำนาจ โดยไม่คำนึงถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านและมักจะทำลายสภาพแวดล้อม ทางธรรมชาติของชุมชน

ตารางที่ 1 แสดงค่าเฉลี่ยระดับความคาดหวัง และระดับที่พบเห็นจริงต่อประเด็นต่างๆ จำแนกตามพื้นที่
ประเด็น                                                          จ.สกลนคร        จ.ปราจีนบุรี       จ.ตราดท่องเที่ยว       ภาพรวม
                                                                 ผ้าย้อมคราม        ถ่านไม้ไผ่       เชิงนิเวศน์ห้วยแร้ง

คาดหวัง เห็นจริง คาดหวัง เห็นจริง คาดหวัง เห็นจริง คาดหวัง เห็นจริง

ด้านกระบวนการ                                                      3.7     3.5     3.7       4     4.1     3.7     3.7     3.5
1.มีการประชาสัมพันธ์นโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมายของโครงการ SMART         3.68    3.44    3.75    3.88    4.17    3.67    3.71    3.48
2.มีการดำเนินงานตามแผนงานอย่างเป็นขั้นตอน                              3.63    3.44    3.63    4.13    4.33    3.67    3.67     3.5
3.มีการประสานความร่วมมือระหว่างบุคลากรกับชาวบ้านในพื้นที่                    3.7    3.52    3.43    3.75    3.83    3.67    3.69    3.55
4.การดำเนินการและระยะเวลามีความเหมาะสมปฏิบัติได้จริง                    3.68    3.45    3.75    3.88    4.17     3.8    3.71     3.5
5.ความต่อเนื่องในการดำเนินโครงการ                                    3.79    3.54       4    4.13       4       4    3.81    3.61
ด้านบุคลากร                                                         3.9     3.7     4.1     4.1     4.1     3.9     3.9     3.7
6.มีบุคลากรในการดำเนินโครงการ SMART อย่างเพียงพอ                      3.86    3.57    4.14    3.75    4.17     3.8     3.9     3.6
7.บุคลากรภาคสนามมีความรู้ความสามารถ                                  3.91    3.74    4.14    3.75    4.33    4.17    3.95    3.77
8.ความเป็นกันเองของบุคลากรต่อชาวบ้านในพื้นที่                             3.84    3.61    4.29    4.25     3.8     3.8    3.87    3.66
9.บุคลากรมีความน่าเชื่อถือ                                             3.89    3.68    4.14    4.38    3.83    3.67    3.91    3.73
10.ความเหมาะสมของบุคลากร โดยภาพรวม                                3.93    3.78       4    4.25       4    3.67    3.93    3.81
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ                                            3.9     3.6       4     3.6     3.5     3.2     3.8     3.6
11.เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างการดำเนินโครงการ SMART                 3.7    3.67       4    3.75    3.67    3.17    3.72    3.65
12.สามารถนำความรู้ใหม่ๆ ที่ได้ไปปรับใช้กับชีวิตจริง                          3.82     3.6    4.14    4.14    3.67    3.33    3.83    3.62
13.เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์/การบริการ                         3.89    3.71       4    3.43    3.67     3.5    3.89    3.68
14.มีช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์/การบริการมากขึ้น                          3.98    3.77    3.71    3.63    3.83    3.17    3.95    3.72
15.มีการสนับสนุนอุปกรณ์/งบประมาณในการดำเนินโครงการ                     3.85    3.48    4.14    3.25    2.83       3    3.81    3.44
ด้านผลิตภัณฑ์/บริการ                                                     4       4     3.8     3.9     4.1     3.9       4       4
16.ผลิตภัณฑ์/การบริการสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้                          3.93    3.87    3.88    4.25    4.17    3.67    3.94    3.89
17.ผลิตภัณฑ์/การบริการมีความโดดเด่นสามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์
   ชนิดเดียวกันในจังหวัดอื่นได้                                          3.97       4    3.63    3.88    3.83    3.67    3.94    3.97
18.ผลิตภัณฑ์/การบริการเหมาะสมกับการเป็นสินค้าประจำจังหวัด                  4.04       4    3.88    3.75    4.17    4.33    4.04       4
19.ผลิตภัณฑ์/การบริการก่อให้เกิดรายได้ของชุมชน                            3.98    4.07    3.62    3.75    4.33       4    3.97    4.05
20.ความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อโครงการ SMART                                     3.9               4             3.8             3.9

*หมายเหตุ: ค่าคะแนนเต็ม 5 คะแนน

ตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ยระดับความคาดหวัง และระดับที่พบเห็นจริงต่อด้านต่างๆ ของจังหวัดตราด
ลำดับที่          ด้าน                      ความคาดหวัง (E)          การพบเห็นจริง (P)      P-E
1          กระบวนการ                          4.10                    3.72          -0.38
2          บุคลากร                             4.07                    3.88          -0.19
3          ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ             3.53                    3.23          -0.30
4          ผลิตภัณฑ์/การบริการ                    4.13                    3.92          -0.21

ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ยระดับความคาดหวัง และระดับที่พบเห็นจริงต่อด้านต่างๆ ของจังหวัดปราจีนบุรี
ลำดับที่          ด้าน                    ความคาดหวัง (E)          การพบเห็นจริง (P)               P-E
1          กระบวนการ                       3.71                    3.95                    +0.24
2          บุคลากร                          4.14                    4.07                    -0.07
3          ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ          3.98                    3.63                    -0.35
4          ผลิตภัณฑ์/การบริการ                 3.75                    3.91                    +0.16

ตารางที่ 4 แสดงค่าเฉลี่ยระดับความคาดหวัง และระดับที่พบเห็นจริงต่อด้านต่างๆ ของจังหวัดสกลนคร
ลำดับที่          ด้าน                  ความคาดหวัง (E)          การพบเห็นจริง (P)              P-E
1          กระบวนการ                    3.70                    3.48                    -0.22
2          บุคลากร                       3.89                    3.68                    -0.21
3          ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ       3.85                    3.64                    -0.21
4          ผลิตภัณฑ์/การบริการ              3.98                    3.99                    +0.01

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ