กรุงเทพโพลล์: “ปรองดองสู่เลือกตั้งหรือเลือกตั้งสู่ปรองดอง”

ข่าวผลสำรวจ Monday September 25, 2017 08:14 —กรุงเทพโพลล์

จากคำกล่าวของ พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีที่ว่า“....ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือมีความปรองดองเราก็จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า” ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 57.3 คิดว่าต้องการสื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการร่วมมือกันสร้างความปรองดองอย่างแท้จริง

โดยประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 54.2 ระบุว่าต้องการให้ปรองดองสำเร็จก่อนแล้วค่อยเลือกตั้ง ทั้งนี้ร้อยละ 60.0 ระบุว่าหากเลื่อนการเลือกตั้งออกไปจากโรดแมปจะส่งผลต่อ ความเชื่อมั่นของประเทศ

เมื่อถามต่อว่า “หากมีความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นอีก ภายหลังการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลเสร็จสิ้นประชาชนมีความเห็นอย่างไร” พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 40.5 มีความเห็น ว่าควรยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ตามกระบวนการ

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ปรองดองสู่เลือกตั้งหรือเลือกตั้งสู่ปรองดอง”โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาค ทั่วประเทศจำนวน 1,100 คน พบว่า

จากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวตอนหนึ่งในรายการ "ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2560 ว่า “....ทั้งนี้เมื่อทุกอย่างลงตัวกระบวน การด้านกฎหมายมีความพร้อมทุกฝ่ายให้ความร่วมมือ มีความปรองดองเราก็จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า” ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 57.3 มีความเห็นว่าเป็นการให้ประชาชนตระหนักถึงการ ร่วมมือกันสร้างความปรองดองอย่างแท้จริงรองลงมาร้อยละ 16.3 เห็นว่าเป็นการพูดเฉยๆ ไม่ได้แฝงนัยใดๆ และร้อยละ 15.6 เห็นว่าเป็นการบอกกลายๆว่าปีหน้าอาจไม่มีการเลือกตั้ง

ทั้งนี้เมื่อถามว่าความปรองดองคืออะไรในความเห็นของประชาชน พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 58.4 ระบุว่า คือการจัดการกับความขัดแย้ง/ประชาชนรักใคร่กลมเกลียวไม่แบ่งฝ่ายแบ่งสี รองลงมาร้อยละ 48.2 คือการเคารพในกฎกติกาทางการเมือง/ไม่ใช้ความรุนแรง/สร้างสถานการณ์ และร้อยละ 41.6 คือการให้อภัยกันในสิ่งที่เคยเกิดความขัดแย้ง

สำหรับความเหมาะสมในการจัดให้มีการเลือกตั้งตามความคิดเห็นของประชาชน พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 54.2 ระบุว่าต้องการให้ปรองดองสำเร็จก่อนแล้วค่อยเลือกตั้ง ขณะที่ร้อยละ 17.3 ระบุว่าต้องการเลือกตั้งก่อนแล้วค่อยปรองดองที่เหลือร้อยละ 28.5 ระบุว่าแบบใดก็ได้ขอให้ได้เลือกตั้ง

ด้านความกังวลว่าจะเกิดสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองหากไม่มีการจัดการเลือกตั้งตาม โรดแมปพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 46.6 ระบุว่าไม่กังวล ขณะที่ร้อยละ 41.6 ระบุว่า กังวล ที่เหลือร้อยละ 11.8 ระบุว่าไม่แน่ใจ

ทั้งนี้หากการจัดการเลือกตั้งเลื่อนออกไปไม่เป็นไปตามโรดแมป ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 60.0 มีความเห็นว่าจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประเทศไทยค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 40.0 มีความเห็นว่าส่งผลค่อนข้างน้อยถึงไม่ส่งผลเลย

สุดท้ายเมื่อถามว่า “หากมีความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นอีก ภายหลังการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลเสร็จสิ้นประชาชนมีความเห็นอย่างไร” พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 40.5 มีความเห็น ว่าควรยุบสภาเลือกตั้งใหม่ตามกระบวนการ รองลงมาร้อยละ 28.5 เห็นว่าควรต้องจัดการปรองดองกันอีกรอบโดยหาคนกลางเข้ามาช่วยและร้อยละ 26.5 เห็นว่าคงต้องยอมให้ทหารเข้ามา จัดการอีกครั้ง

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1. จากคำพูดของนายกฯที่ว่า“....ทั้งนี้เมื่อทุกอย่างลงตัวกระบวนการด้านกฎหมายมีความพร้อมทุกฝ่ายให้ความร่วมมือมีความปรองดองเราก็จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า”ประชาชนคิดว่าต้องการ
สื่อถึงอะไร
ให้ประชาชนตระหนักถึงการร่วมมือกันสร้างความปรองดองอย่างแท้จริง          ร้อยละ          57.3
พูดเฉยๆไม่ได้แฝงนัยใดๆ                                           ร้อยละ          16.3
เป็นการบอกกลายๆว่าปีหน้าอาจไม่มีการเลือกตั้ง                          ร้อยละ          15.6
ไม่แน่ใจ                                                       ร้อยละ          10.8

2.ความปรองดองคืออะไรในความเห็นของประชาชน
การจัดการกับความขัดแย้ง/ประชาชนรักใคร่กลมเกลียวไม่แบ่งฝ่ายแบ่งสี         ร้อยละ          58.4
เคารพในกฎกติกาทางการเมือง/ไม่ใช้ความรุนแรง/สร้างสถานการณ์           ร้อยละ          48.2
การให้อภัยกันในสิ่งที่เคยเกิดความขัดแย้ง                               ร้อยละ          41.6
ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงความจริงที่จะนำไปสู่ความเข้าใจ                     ร้อยละ          41.4
เยียวยาผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากความขัดแย้ง                          ร้อยละ          22.9

3. ความเหมาะสมในการจัดให้มีการเลือกตั้งตามความคิดเห็นของประชาชน
ปรองดองสำเร็จก่อนแล้วค่อยเลือกตั้ง                                  ร้อยละ          54.2
เลือกตั้งก่อนแล้วค่อยปรองดอง                                       ร้อยละ          17.3
แบบใดก็ได้ขอให้ได้เลือกตั้ง                                         ร้อยละ          28.5

4.เมื่อถามว่า “กังวลหรือไม่ว่าจะเกิดสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองหากไม่มีการจัดการเลือกตั้งตามโรดแมป”
ไม่กังวล                                                       ร้อยละ          46.6
กังวล                                                         ร้อยละ          41.6
ไม่แน่ใจ                                                       ร้อยละ          11.8

5. หากการจัดการเลือกตั้งเลื่อนออกไปไม่เป็นไปตามโรดแมปจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประเทศไทยหรือไม่
ส่งผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด                                        ร้อยละ          60.0
(โดยแบ่งเป็นส่งผลค่อนข้างมาก ร้อยละ 40.2 และส่งผลมากที่สุด ร้อยละ 19.8 )
ส่งผลค่อนข้างน้อยถึงไม่ส่งผลเลย                                     ร้อยละ          40.0
(โดยแบ่งเป็นส่งผลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 23.1 และไม่ส่งผลเลย ร้อยละ 16.9 )

6. หากมีความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นอีกภายหลังการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลเสร็จสิ้นประชาชนมีความเห็นอย่างไร
ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ตามกระบวนการ                                   ร้อยละ         40.5
จัดการปรองดองกันอีกรอบโดยหาคนกลางมาช่วย                          ร้อยละ         28.5
ยอมให้ทหารเข้ามาจัดการอีกครั้ง                                     ร้อยละ         26.5
ไม่แน่ใจ                                                       ร้อยละ          4.5
?

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับความปรองดองและจัดให้มีการเลือกตั้งในแง่มุมต่างๆ อาทิเช่น ความปรองดองในความเข้าใจของประชาชน ความเหมาะสมใน การจัดให้มีการเลือกตั้ง ตลอดจนความกังวลและผลกระทบหากการเลือกตั้งไม่เป็นไปตามโรดแมป เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบง่าย (Simple Random Sampling)แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ?4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 19-21 กันยายน 2560

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ         : 23 กันยายน 2560

ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                                 542      49.3
          หญิง                                 558      50.7
          รวม                               1,100       100
อายุ
          18 ปี - 30 ปี                         143        13
          31 ปี - 40 ปี                         244      22.2
          41 ปี - 50 ปี                         285      25.9
          51 ปี - 60 ปี                         265      24.1
          61 ปี ขึ้นไป                           163      14.8
          รวม                               1,100       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                        671        61
          ปริญญาตรี                             361      32.8
          สูงกว่าปริญญาตรี                         68       6.2
          รวม                               1,100       100
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล                          142      12.9
          ลูกจ้างเอกชน                          264        24
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร          430      39.1
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง                  55         5
          ทำงานให้ครอบครัว                        3       0.3
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ              154        14
          นักเรียน/ นักศึกษา                       40       3.6
          ว่างงาน/ รวมกลุ่ม                       12       1.1
          รวม                               1,100       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ