สวนดุสิตโพล: บทเรียนจาก “ภัยแล้ง” ที่มีต่อ “ประเพณีสงกรานต์”

ข่าวผลสำรวจ Monday April 18, 2016 10:45 —สวนดุสิตโพล

สถานการณ์ภัยแล้งของประเทศไทยปีนี้นับว่ารุนแรงและน่าเป็นห่วงอย่างมาก ทางภาครัฐจึงมีมาตรการประหยัดน้ำและขอความร่วมมือจากประชาชนทุกคนให้ช่วยกัน ในขณะที่เทศกาลสงกรานต์ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญของไทยก็ได้มีการรณรงค์ในเรื่องของการเล่นน้ำแบบสืบสานประเพณีไทย เน้นการประหยัดน้ำเนื่องจากอยู่ในภาวะ ภัยแล้ง เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,029 คน สำรวจระหว่างวันที่ 13-16 เมษายน 2559 สรุปผล ได้ ดังนี้

1. ประชาชนคิดอย่างไร? ต่อ สถานการณ์ภัยแล้ง ณ วันนี้
อันดับ 1   รู้สึกเป็นห่วง กังวลเรื่องน้ำกิน-น้ำใช้ ที่อาจถึงขั้นวิกฤต  สงสารและเห็นใจชาวนา                     87.10%
อันดับ 2   ถึงเวลาแล้ว ที่คนไทยทุกคนต้องช่วยกันประหยัดน้ำ ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า                               84.09%
อันดับ 3   ภาครัฐควรหาแนวทางป้องกันในระยะยาว แก้ไขอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม                            79.48%
อันดับ 4   ภาครัฐต้องออกมากระตุ้น รณรงค์ให้คนไทยตระหนักและรับรู้สถานการณ์อย่างต่อเนื่อง                    73.22%

2. ประชาชนคิดว่า สถานการณ์ภัยแล้ง มีผลต่อเทศกาลสงกรานต์อย่างไร?
อันดับ 1   คนออกไปเล่นน้ำน้อยลง น้ำมีน้อย ต้องใช้อย่างประหยัด                                         76.63%
อันดับ 2   อากาศร้อนจัด มีผลต่ออารมณ์และสุขภาพร่างกาย                                              68.19%
อันดับ 3   ภาครัฐออกมาควบคุมดูแลการเล่นน้ำ กำหนดเวลาและพื้นที่ในการเล่นน้ำ                             61.56%
อันดับ 4   พ่อค้าแม่ค้าที่ขายของช่วงสงกรานต์มีรายได้ลดลง ส่งผลกระทบต่อยอดขาย                            57.15%

3. จากสถานการณ์ภัยแล้ง ประชาชนได้มีการปรับวิธีการเล่นน้ำในเทศกาลสงกรานต์อย่างไร?
อันดับ 1   ใช้การประพรม ประแป้ง แทนการสาดน้ำ                                                   75.92%
อันดับ 2   ใช้อุปกรณ์เล่นน้ำแบบประหยัด เช่น ปืนฉีดน้ำกระบอกเล็ก ฟ็อกกี้ ขันใบเล็ก                           74.34%
อันดับ 3   สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่แทนการเล่นสาดน้ำ                                              62.27%
อันดับ 4   ไม่ออกไปไหน อยู่บ้าน หรือหากิจกรรมอย่างอื่นทำแทนการเล่นน้ำ                                  59.51%

4. “ถ้าขาดแคลนน้ำอย่างนี้ทุกปี” ประชาชนคิดว่าการเล่นน้ำในประเพณีสงกรานต์จะหายไปหรือไม่ อย่างไร?
อันดับ 1   ไม่หายไป                                                                          49.61%
เพราะ  เป็นวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของไทยที่มีมานาน เป็นเทศกาลรื่นเริงของคนไทย
บรรยากาศสนุกสนาน ส่งเสริมภาพลักษณ์และการท่องเที่ยวของไทย ฯลฯ
อันดับ 2   ไม่น่าจะหายไป                                                                      31.00%
เพราะ  เชื่อว่าประเทศไทยจะผ่านพ้นวิกฤตภัยแล้งได้ สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการเล่นน้ำแบบประหยัด
ทุกคนจะต้องช่วยกันอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทย  ฯลฯ
อันดับ 3   หายไปแน่นอน                                                                       10.08%
เพราะ  ไม่มีน้ำให้เล่น อาจเป็นเพียงแค่วันหยุดยาวที่ประชาชนได้หยุดพักผ่อน ไปเที่ยว
หรือกลับภูมิลำเนา ฯลฯ
อันดับ 4   ไม่แน่ใจ                                                                            9.31%
เพราะ  ขึ้นอยู่กับการแก้ปัญหาของภาครัฐว่าจะได้ผลหรือไม่ได้ผล สภาพภูมิอากาศในแต่ละปีอาจไม่แน่นอน ฯลฯ

5. ประชาชนได้รับบทเรียนอะไรบ้าง? จากภัยแล้งที่เกิดขึ้นและมีผลต่อประเพณีสงกรานต์ในปีนี้
อันดับ 1   ควรช่วยกันดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ลดโลกร้อน                         85.03%
อันดับ 2   ทุกคนต้องตระหนัก ช่วยกันประหยัดน้ำ ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า                                        83.47%
อันดับ 3   ต้องรู้จักปรับตัว รับมือ เมื่อประเทศไทยไม่มีน้ำใช้หรือน้ำขาดแคลน                                 76.25%
อันดับ 4   ภาครัฐควรมีการบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสม วางแผนการใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค                 67.16%

--สวนดุสิตโพล--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ