คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการทำลายลำไยอบแห้ง ปี 2545 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) เสนอดังนี้
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2548 มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุ-สมบัติ) เป็นเจ้าภาพดำเนินการทำลายลำไยอบแห้ง ปี 2545 และมติเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2548 รับทราบการแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายลำไยอบแห้ง ปี 2545 โดยมีพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส จเรตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานคณะกรรมการ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการทำลายลำไยอบแห้ง ปี 2545 (เบื้องต้น) เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2548 แล้ว นั้น คณะกรรมการทำลายลำไยอบแห้ง ปี 2545 ได้รายงานว่า บัดนี้ ได้ดำเนินการทำลายลำไยอบแห้ง ปี 2545 เสร็จสิ้นแล้ว สรุปดังนี้
1. ปริมาณลำไยอบแห้งตามยอดบัญชีและปริมาณที่ได้ทำลาย ลำไยอบแห้ง ปี 2545 มีจำนวนที่จะต้องทำลายทั้งหมดตามยอดบัญชีที่คณะกรรมการเตรียมการเพื่อทำลายลำไยอบแห้ง ปี 2545 ระดับจังหวัดได้รับแจ้งจาก อคส. และ อ.ต.ก. มีจำนวน 22,586.768 ตัน เก็บรักษาไว้ในคลังสินค้า 34 แห่ง ในจังหวัดนครสวรรค์ (5 แห่ง) เชียงราย (8 แห่ง) ลำพูน (6 แห่ง) และเชียงใหม่ (15 แห่ง) ซึ่งคณะกรรมการเตรียมการฯ ได้ทำการตรวจสอบสภาพก่อนการทำลายทั้งปริมาณและคุณภาพ ปรากฏว่า ชั่งน้ำหนักได้ปริมาณทั้งสิ้น 21,457.676 ตัน รวมน้ำหนักที่ขาดหายไปจำนวน 1,129.092 ตัน ลำไยอบแห้งจำนวนทั้งหมดดังกล่าว ได้เสื่อมสภาพหมด เป็นเชื้อรา แห้งแข็ง เปลือกแตก มีแมลงมอดชอนไช จึงได้ดำเนินการทำลายด้วยวิธีบดอัดและมอบให้กรมพัฒนาที่ดินจัดทำปุ๋ยอินทรีย์ แยกเป็นรายจังหวัด ดังนี้
1.1 จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 2,636.078 ตัน (จากยอดบัญชี 2,635.644 ตัน) ทำลายเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2548 ณ สถานีพัฒนาที่ดินนครสวรรค์ อำเภอโกรกพระ
1.2 จังหวัดเชียงราย จำนวน 3,458.858 ตัน (จากยอดบัญชี 3,636.360 ตัน) ทำลายเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2548 ณ ค่ายเม็งรายมหาราช อำเภอเมืองเชียงราย
1.3 จังหวัดลำพูน จำนวน 4,157.426 ตัน (จากยอดบัญชี 4,371.719 ตัน) ทำลายเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2548 ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร อำเภอเมืองลำพูน
1.4 จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 11,205.314 ตัน (จากยอดบัญชี 11,943.045 ตัน) ดำเนินการทำลาย 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2548 จำนวน 1,757.743 ตัน ณ สถานีพัฒนาที่ดินเชียงใหม่ อำเภอแม่แตง และครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2548 ทำลายลำไยอบแห้งส่วนที่เหลือ จำนวน 9,447.571 ตัน ณ สำนักงานพัฒนาภาค 3 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กิ่งอำเภอดอยหล่อ
2. การตรวจสอบพบเหตุผิดปกติ สำหรับลำไยอบแห้งที่จัดเก็บไว้ในคลังสินค้าบางแห่ง ซึ่งมีปริมาณขาดหายไปจากบัญชีมากเกินมาตรฐาน (ขาดหายไปจากยอดบัญชีเกินร้อยละ 7) ได้แก่
2.1 จังหวัดเชียงราย คลัง หจก.แฟมิลี่ บี ขาดบัญชี ร้อยละ 26.547 บริษัท ที พี เอฟ อินเตอร์เทรด จำกัด (อำเภอแม่สาย) ขาดบัญชีร้อยละ 7.120 และ หจก.โรงสี ก.เทพสวัสดิ์ ขาดบัญชี ร้อยละ 7.022
2.2 จังหวัดลำพูน หจก. นอร์เธินเอนเตอร์ไพรส์ ลำพูน (หลัง 14) ขาดบัญชี ร้อยละ 24.230 และ บริษัท ศักดิ์ทองพูน จำกัด (คลัง 4) ขาดบัญชี ร้อยละ 7.418
2.3 จังหวัดเชียงใหม่ บริษัท ที.อี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ขาดบัญชี ร้อยละ 8.756 บริษัท สหมิตร โภคภัณฑ์ จำกัด ขาดบัญชีร้อยละ 7.273 หจก.ศาตธราไชย ขาดบัญชี ร้อยละ 11.355 บริษัท ชางหลงฟู้ด จำกัด ขาดบัญชี ร้อยละ 14.360 บริษัท จงไทยดี อินเตอร์เทรด จำกัด ขาดบัญชี ร้อยละ 37.501 โดยพบกล่องเปล่า จำนวน 5,963 กล่อง และ หจก. นอร์เธินเอนเตอร์ไพรส์ ลำพูน (หลัง 15) ขาดบัญชี ร้อยละ 23.459
ลำไยอบแห้งที่ขาดบัญชีจากคลังต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น ได้มอบให้ อคส. และ อ.ต.ก. ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติและรับผิดชอบในการรับจำนำรวมทั้งเป็นผู้ดูแลสินค้าเร่งดำเนินการตรวจสอบ หากผลการตรวจสอบต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ก็ให้รีบดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนท้องที่โดยเร่งด่วน
ต่อมา ได้รับรายงานจาก อคส. ว่า ลำไยอบแห้งที่ขาดบัญชีของ หจก. นอร์เธินเอนเตอร์ไพรส์ ลำพูน (หลัง 14 จังหวัดลำพูน) อาจเกิดจากความผิดพลาดในการตรวจนับลำไยในรถบรรทุกแต่ละคัน เพราะใช้สายพานลำเลียงในการขนย้ายขึ้นรถบรรทุก ส่วนบริษัท ศักดิ์ทองพูน จำกัด (หลัง 4) และ หจก. นอร์เธินเอนเตอร์ไพรส์ ลำพูน (หลัง 15 จังหวัดเชียงใหม่) ถูกเชื้อราทำลายและดูดกินเนื้อลำไย ทำให้เนื้อลำไยอบแห้งฝ่อ มีน้ำหนักเบา และที่ขาดหายอีก 34.067 ตันของบริษัท จงไทยดีอินเตอร์เทรด จำกัด เนื่องจากเสื่อมสภาพและเป็นเชื้อรา สำหรับกล่องเปล่าที่ตรวจพบ จำนวน 5,963 กล่อง ที่ไม่มีลำไยอบแห้งบรรจุอยู่ คิดเป็นลำไยอบแห้ง 59.63 ตัน ได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว ขณะนี้ อยู่ระหว่างกระบวนการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้กระทำความผิด ส่วน อ.ต.ก. ได้รายงานว่า บริษัท ที อี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และ บริษัท สหมิตรโภคภัณฑ์ จำกัด น้ำหนักน้อยกว่าบัญชี อยู่ระหว่างการรวบรวมซากลำไยอบแห้งที่ร่วงหล่นในคลังสินค้าและถูกรถบรรทุกบดทับเพื่อชั่งน้ำหนักไว้เป็นหลักฐาน ส่วน บริษัท ชางหลงฟู้ด จำกัด ได้ตรวจพบกล่องลำไยสูญหาย และ หจก. ศาตธราไชย ลำไยเป็นเชื้อราและเน่าเสีย ทั้ง 4 ราย อ.ต.ก. ได้แจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานที่สถานีตำรวจภูธรท้องที่ที่เป็นที่ตั้งคลังแล้ว และอยู่ระหว่างการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ส่วนกรณีอื่น ๆ อยู่ระหว่างการรวบรวมรายงาน
3. การจัดการกล่องและถุงพลาสติกบรรจุลำไยอบแห้ง ได้ตั้งคณะกรรมการจัดการด้านกล่องและถุงพลาสติกที่ใช้บรรจุลำไยอบแห้ง ปี 2545 ระดับจังหวัด ดำเนินการขายกล่องและถุงพลาสติกที่ได้ทำลายเพื่อมิให้อยู่ในสภาพที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปได้อีก และให้ผู้รับซื้อเป็นผู้ดำเนินการทำลายพร้อมกับรับภาระค่าใช้จ่ายในการทำลายทั้งสิ้นก่อนการขนย้าย แล้วนำเงินที่ได้จากการขายส่งคืนกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป เนื่องจากได้พิจารณาแล้วเห็นว่า กล่องและถุงพลาสติกดังกล่าวสามารถที่จะนำออกขายได้ เพื่อเป็นการรักษาประโยชน์ของทางราชการมากกว่าการทำลายทิ้งไป ทั้งนี้ ได้กำชับและมอบหมายให้จังหวัดกำกับดูแลและเร่งรัดให้คณะกรรมการจัดการด้านกล่องและถุงพลาสติกฯ ระดับจังหวัด ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่ให้ไว้โดยเร่งด่วนแล้ว และได้รับรายงานจากจังหวัดต่าง ๆ ว่าได้ดำเนินการเปิดประมูลขายกล่องและถุงพลาสติกแล้ว โดยจังหวัดนครสวรรค์ ประมูลขายกล่องได้ในราคา ก.ก. ละ 4.30 บาท และถุงพลาสติก ก.ก.ละ 9 บาท จังหวัดเชียงราย ประมูลขายกล่องได้ในราคา ก.ก.ละ 4 บาท และถุงพลาสติก ก.ก.ละ 6 บาท จังหวัดลำพูน ประมูลขายกล่องได้ในราคา ก.ก. ละ 4.41 บาท และถุงพลาสติก ก.ก.ละ 6.20 บาท จังหวัดเชียงใหม่ ประมูลขายกล่องได้ในราคา ก.ก. ละ 4 บาท และถุงพลาสติก ก.ก. ละ 6.20 บาท
4. งบประมาณ ในการทำลายลำไยอบแห้งด้วยวิธีบดอัดและทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ดังกล่าว หน่วยงานต่าง ๆ ได้ประมาณการค่าใช้จ่ายเบื้องต้น เป็นวงเงินทั้งสิ้น 36,328,424 บาท แยกเป็นจังหวัดนครสวรรค์ 1,565,539 บาท เชียงราย 4,006,270 บาท ลำพูน 6,250,000 บาท เชียงใหม่ 17,727,000 บาท กรมพัฒนาที่ดิน 5,670,115 บาท อคส. และ อ.ต.ก. เป็นค่าบริหารจัดการ 1,109,500 บาท และโดยที่งบประมาณที่หน่วยงานได้เสนอมีวงเงินค่อนข้างสูง ประธานคณะกรรมการทำลายลำไยอบแห้ง ปี 2545 จึงได้ขอให้พิจารณาทบทวน โดยได้มอบหลักการ ขอให้ทุกจังหวัดแจ้งของบประมาณมาตามความจำเป็นที่ได้ใช้จ่ายอย่างแท้จริง โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 สิงหาคม 2548--จบ--
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2548 มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุ-สมบัติ) เป็นเจ้าภาพดำเนินการทำลายลำไยอบแห้ง ปี 2545 และมติเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2548 รับทราบการแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายลำไยอบแห้ง ปี 2545 โดยมีพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส จเรตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานคณะกรรมการ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการทำลายลำไยอบแห้ง ปี 2545 (เบื้องต้น) เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2548 แล้ว นั้น คณะกรรมการทำลายลำไยอบแห้ง ปี 2545 ได้รายงานว่า บัดนี้ ได้ดำเนินการทำลายลำไยอบแห้ง ปี 2545 เสร็จสิ้นแล้ว สรุปดังนี้
1. ปริมาณลำไยอบแห้งตามยอดบัญชีและปริมาณที่ได้ทำลาย ลำไยอบแห้ง ปี 2545 มีจำนวนที่จะต้องทำลายทั้งหมดตามยอดบัญชีที่คณะกรรมการเตรียมการเพื่อทำลายลำไยอบแห้ง ปี 2545 ระดับจังหวัดได้รับแจ้งจาก อคส. และ อ.ต.ก. มีจำนวน 22,586.768 ตัน เก็บรักษาไว้ในคลังสินค้า 34 แห่ง ในจังหวัดนครสวรรค์ (5 แห่ง) เชียงราย (8 แห่ง) ลำพูน (6 แห่ง) และเชียงใหม่ (15 แห่ง) ซึ่งคณะกรรมการเตรียมการฯ ได้ทำการตรวจสอบสภาพก่อนการทำลายทั้งปริมาณและคุณภาพ ปรากฏว่า ชั่งน้ำหนักได้ปริมาณทั้งสิ้น 21,457.676 ตัน รวมน้ำหนักที่ขาดหายไปจำนวน 1,129.092 ตัน ลำไยอบแห้งจำนวนทั้งหมดดังกล่าว ได้เสื่อมสภาพหมด เป็นเชื้อรา แห้งแข็ง เปลือกแตก มีแมลงมอดชอนไช จึงได้ดำเนินการทำลายด้วยวิธีบดอัดและมอบให้กรมพัฒนาที่ดินจัดทำปุ๋ยอินทรีย์ แยกเป็นรายจังหวัด ดังนี้
1.1 จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 2,636.078 ตัน (จากยอดบัญชี 2,635.644 ตัน) ทำลายเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2548 ณ สถานีพัฒนาที่ดินนครสวรรค์ อำเภอโกรกพระ
1.2 จังหวัดเชียงราย จำนวน 3,458.858 ตัน (จากยอดบัญชี 3,636.360 ตัน) ทำลายเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2548 ณ ค่ายเม็งรายมหาราช อำเภอเมืองเชียงราย
1.3 จังหวัดลำพูน จำนวน 4,157.426 ตัน (จากยอดบัญชี 4,371.719 ตัน) ทำลายเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2548 ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร อำเภอเมืองลำพูน
1.4 จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 11,205.314 ตัน (จากยอดบัญชี 11,943.045 ตัน) ดำเนินการทำลาย 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2548 จำนวน 1,757.743 ตัน ณ สถานีพัฒนาที่ดินเชียงใหม่ อำเภอแม่แตง และครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2548 ทำลายลำไยอบแห้งส่วนที่เหลือ จำนวน 9,447.571 ตัน ณ สำนักงานพัฒนาภาค 3 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กิ่งอำเภอดอยหล่อ
2. การตรวจสอบพบเหตุผิดปกติ สำหรับลำไยอบแห้งที่จัดเก็บไว้ในคลังสินค้าบางแห่ง ซึ่งมีปริมาณขาดหายไปจากบัญชีมากเกินมาตรฐาน (ขาดหายไปจากยอดบัญชีเกินร้อยละ 7) ได้แก่
2.1 จังหวัดเชียงราย คลัง หจก.แฟมิลี่ บี ขาดบัญชี ร้อยละ 26.547 บริษัท ที พี เอฟ อินเตอร์เทรด จำกัด (อำเภอแม่สาย) ขาดบัญชีร้อยละ 7.120 และ หจก.โรงสี ก.เทพสวัสดิ์ ขาดบัญชี ร้อยละ 7.022
2.2 จังหวัดลำพูน หจก. นอร์เธินเอนเตอร์ไพรส์ ลำพูน (หลัง 14) ขาดบัญชี ร้อยละ 24.230 และ บริษัท ศักดิ์ทองพูน จำกัด (คลัง 4) ขาดบัญชี ร้อยละ 7.418
2.3 จังหวัดเชียงใหม่ บริษัท ที.อี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ขาดบัญชี ร้อยละ 8.756 บริษัท สหมิตร โภคภัณฑ์ จำกัด ขาดบัญชีร้อยละ 7.273 หจก.ศาตธราไชย ขาดบัญชี ร้อยละ 11.355 บริษัท ชางหลงฟู้ด จำกัด ขาดบัญชี ร้อยละ 14.360 บริษัท จงไทยดี อินเตอร์เทรด จำกัด ขาดบัญชี ร้อยละ 37.501 โดยพบกล่องเปล่า จำนวน 5,963 กล่อง และ หจก. นอร์เธินเอนเตอร์ไพรส์ ลำพูน (หลัง 15) ขาดบัญชี ร้อยละ 23.459
ลำไยอบแห้งที่ขาดบัญชีจากคลังต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น ได้มอบให้ อคส. และ อ.ต.ก. ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติและรับผิดชอบในการรับจำนำรวมทั้งเป็นผู้ดูแลสินค้าเร่งดำเนินการตรวจสอบ หากผลการตรวจสอบต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ก็ให้รีบดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนท้องที่โดยเร่งด่วน
ต่อมา ได้รับรายงานจาก อคส. ว่า ลำไยอบแห้งที่ขาดบัญชีของ หจก. นอร์เธินเอนเตอร์ไพรส์ ลำพูน (หลัง 14 จังหวัดลำพูน) อาจเกิดจากความผิดพลาดในการตรวจนับลำไยในรถบรรทุกแต่ละคัน เพราะใช้สายพานลำเลียงในการขนย้ายขึ้นรถบรรทุก ส่วนบริษัท ศักดิ์ทองพูน จำกัด (หลัง 4) และ หจก. นอร์เธินเอนเตอร์ไพรส์ ลำพูน (หลัง 15 จังหวัดเชียงใหม่) ถูกเชื้อราทำลายและดูดกินเนื้อลำไย ทำให้เนื้อลำไยอบแห้งฝ่อ มีน้ำหนักเบา และที่ขาดหายอีก 34.067 ตันของบริษัท จงไทยดีอินเตอร์เทรด จำกัด เนื่องจากเสื่อมสภาพและเป็นเชื้อรา สำหรับกล่องเปล่าที่ตรวจพบ จำนวน 5,963 กล่อง ที่ไม่มีลำไยอบแห้งบรรจุอยู่ คิดเป็นลำไยอบแห้ง 59.63 ตัน ได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว ขณะนี้ อยู่ระหว่างกระบวนการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้กระทำความผิด ส่วน อ.ต.ก. ได้รายงานว่า บริษัท ที อี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และ บริษัท สหมิตรโภคภัณฑ์ จำกัด น้ำหนักน้อยกว่าบัญชี อยู่ระหว่างการรวบรวมซากลำไยอบแห้งที่ร่วงหล่นในคลังสินค้าและถูกรถบรรทุกบดทับเพื่อชั่งน้ำหนักไว้เป็นหลักฐาน ส่วน บริษัท ชางหลงฟู้ด จำกัด ได้ตรวจพบกล่องลำไยสูญหาย และ หจก. ศาตธราไชย ลำไยเป็นเชื้อราและเน่าเสีย ทั้ง 4 ราย อ.ต.ก. ได้แจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานที่สถานีตำรวจภูธรท้องที่ที่เป็นที่ตั้งคลังแล้ว และอยู่ระหว่างการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ส่วนกรณีอื่น ๆ อยู่ระหว่างการรวบรวมรายงาน
3. การจัดการกล่องและถุงพลาสติกบรรจุลำไยอบแห้ง ได้ตั้งคณะกรรมการจัดการด้านกล่องและถุงพลาสติกที่ใช้บรรจุลำไยอบแห้ง ปี 2545 ระดับจังหวัด ดำเนินการขายกล่องและถุงพลาสติกที่ได้ทำลายเพื่อมิให้อยู่ในสภาพที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปได้อีก และให้ผู้รับซื้อเป็นผู้ดำเนินการทำลายพร้อมกับรับภาระค่าใช้จ่ายในการทำลายทั้งสิ้นก่อนการขนย้าย แล้วนำเงินที่ได้จากการขายส่งคืนกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป เนื่องจากได้พิจารณาแล้วเห็นว่า กล่องและถุงพลาสติกดังกล่าวสามารถที่จะนำออกขายได้ เพื่อเป็นการรักษาประโยชน์ของทางราชการมากกว่าการทำลายทิ้งไป ทั้งนี้ ได้กำชับและมอบหมายให้จังหวัดกำกับดูแลและเร่งรัดให้คณะกรรมการจัดการด้านกล่องและถุงพลาสติกฯ ระดับจังหวัด ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่ให้ไว้โดยเร่งด่วนแล้ว และได้รับรายงานจากจังหวัดต่าง ๆ ว่าได้ดำเนินการเปิดประมูลขายกล่องและถุงพลาสติกแล้ว โดยจังหวัดนครสวรรค์ ประมูลขายกล่องได้ในราคา ก.ก. ละ 4.30 บาท และถุงพลาสติก ก.ก.ละ 9 บาท จังหวัดเชียงราย ประมูลขายกล่องได้ในราคา ก.ก.ละ 4 บาท และถุงพลาสติก ก.ก.ละ 6 บาท จังหวัดลำพูน ประมูลขายกล่องได้ในราคา ก.ก. ละ 4.41 บาท และถุงพลาสติก ก.ก.ละ 6.20 บาท จังหวัดเชียงใหม่ ประมูลขายกล่องได้ในราคา ก.ก. ละ 4 บาท และถุงพลาสติก ก.ก. ละ 6.20 บาท
4. งบประมาณ ในการทำลายลำไยอบแห้งด้วยวิธีบดอัดและทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ดังกล่าว หน่วยงานต่าง ๆ ได้ประมาณการค่าใช้จ่ายเบื้องต้น เป็นวงเงินทั้งสิ้น 36,328,424 บาท แยกเป็นจังหวัดนครสวรรค์ 1,565,539 บาท เชียงราย 4,006,270 บาท ลำพูน 6,250,000 บาท เชียงใหม่ 17,727,000 บาท กรมพัฒนาที่ดิน 5,670,115 บาท อคส. และ อ.ต.ก. เป็นค่าบริหารจัดการ 1,109,500 บาท และโดยที่งบประมาณที่หน่วยงานได้เสนอมีวงเงินค่อนข้างสูง ประธานคณะกรรมการทำลายลำไยอบแห้ง ปี 2545 จึงได้ขอให้พิจารณาทบทวน โดยได้มอบหลักการ ขอให้ทุกจังหวัดแจ้งของบประมาณมาตามความจำเป็นที่ได้ใช้จ่ายอย่างแท้จริง โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 สิงหาคม 2548--จบ--