แต่งตั้ง

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday December 27, 2006 11:19 —มติคณะรัฐมนตรี

          1.  การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
คณะรัฐมนตรีอนุมัติเป็นหลักการ ในการมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนตามลำดับ โดยให้ครอบคลุมถึงกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง วัฒนธรรมด้วย ดังนี้ 1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
2. คณะกรรมการต่าง ๆ ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเสนอ ให้คณะกรรมการต่อไปนี้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ดังนี้
1. คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย โดยเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการดังนี้ กรรมการประกอบด้วย ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษา ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้แทนกองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นางนงลักษณ์ วิรัชชัย ผู้ทรงคุณวุฒิ นางงามตา วนินทานนท์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยมี เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 8 ว วช. เป็นกรรมการและเลขานุการ และกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 2 คน ได้แก่ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน วช. 2 คน
อำนาจหน้าที่ มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางในการดำเนินงานด้านการพัฒนาระบบพฤติกรรมไทยให้สดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ และอำนาจหน้าที่อื่นอีก 7 ประการ โดยเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่ ดังนี้ มีอำนาจหน้าที่ 8 ประการ โดยเพิ่มเติมข้อ 7 พิจารณาและผลักดันการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย
2. คณะกรรมการโครงการความร่วมมือการวิจัยระหว่างไทย — ญี่ปุ่น โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่คงเดิมดังนี้ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเป็นประธานกรรมการ กรรมการอื่นอีก 10 คน ผู้อำนวยการกองแปลและวิเทศสัมพันธ์ วช. เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบาย แนวทาง และแผนงานความ ร่วมมือการวิจัยระหว่าง วช. และองค์การส่งเสริมวิชาการแห่งประเทศญี่ปุ่น และอำนาจหน้าที่อื่นอีก 3 ประการ
3. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการประสานงานของสภาสหภาพวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (ICSU-ไทย) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่คงเดิมดังนี้ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเป็นประธานกรรมการ กรรมการอื่นอีก 15 คน ผู้แทนกองแปลและวิเทศสัมพันธ์ วช. เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ประสานงานกับสภาสหภาพวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ และอำนาจหน้าที่อื่น อีก 3 ประการ
3. การเสนอให้คณะกรรมการต่าง ๆ ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคงอยู่ (กระทรวงการคลัง)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอดังนี้
1. ให้คณะกรรมการต่อไปนี้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยมีอำนาจหน้าที่และองค์ประกอบคงเดิม
1.1 คณะกรรมการป้องปรามธุรกิจการเงินนอกระบบ
1.2 คณะกรรมการพิจารณาการขาย การแลกเปลี่ยน การให้ การจำหน่ายจ่ายโอนหรือจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลไทยในต่างประเทศ
1.3 คณะกรรมการกลั่นกรองจัดเอาประกันภัยทรัพย์สินของรัฐ
1.4 คณะกรรมการพิจารณาสิทธิพิเศษของหน่วยงานและรัฐวิสาหกิจ
1.5 คณะกรรมการกำกับนโยบายราคากลางงานก่อสร้าง
1.6 คณะกรรมการพิจารณากำหนดประเภทและอัตราค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค
1.7 คณะกรรมการพิจารณากำหนดสำนักงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่พิเศษ
1.8 คณะกรรมการพิจารณากำหนดสำนักงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่พิเศษระดับจังหวัด
1.9 คณะกรรมการดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียน
1.10 คณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ
2. ให้คณะกรรมการเพื่อพิจารณากำหนดขอบเขตที่ดินกำแพงเมือง — คูเมืองคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยปรับปรุงองค์ประกอบ ส่วนอำนาจหน้าที่คงเดิม
3. ให้ยกเลิกคณะกรรมการต่อไปนี้ เนื่องจากสิ้นสุดภารกิจ
3.1 คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
3.2 คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการใช้เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (เงินกู้ SAL)
3.3 คณะกรรมการพิกัดอัตราศุลกากร
4. คณะกรรมการต่าง ๆ ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง (กระทรวงคมนาคม)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอดังนี้
1. ให้คณะกรรมการต่อไปนี้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
คณะกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่และองค์ประกอบคงเดิม ดังนี้
1. คณะกรรมการแห่งชาติในการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย
2. คณะกรรมการร่วมถาวรไทย — มาเลเซีย ว่าด้วยการขนส่งสินค้าเน่าเสียง่ายผ่านแดนมาเลเซียไปยังสิงคโปร์
3. คณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาทำความตกลงเกี่ยวกับการขนส่งทางบกกับรัฐบาลต่างประเทศเป็นประจำ
4. คณะกรรมการดำเนินงานด้านความปลอดภัยการขนส่งแห่งชาติ
คณะกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่คงเดิม โดยเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบ ดังนี้
5. คณะกรรมการขนส่งแห่งอาเซียน
6. คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อประสานงานกับองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ
7. คณะกรรมการนโยบายการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบแห่งชาติ
8. คณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับรัฐบาลต่างประเทศเป็นประจำ
9. คณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนและขนส่งข้ามแดนแห่งชาติ
10. คณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนค่าเครื่องจักรกลของกรมทางหลวง
2. ให้ยกเลิกคณะกรรมการอำนวยการโครงการปรับปรุงทัศนียภาพบริเวณตามแนวเส้นทางจราจร
5. การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดปัจจุบันได้ดำรงตำแหน่งมาครบกำหนดตามวาระ จำนวน 3 คน ดังนี้ 1. นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ 2. นางอรอนงค์ มณีกาญจน์ (ผู้แทนกระทรวงการคลัง) 3. นายจุฑา กุลบุศย์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2549 เป็นต้นไป
6. ขออนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (กระทรวงคมนาคม)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้แต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงคมนาคม ดำรงตำแหน่งระดับ 10 จำนวน 4 ราย ดังนี้
1. นางภาวสุทธิ์ จึงอนุวัตร ผู้อำนวยการศูนย์ (นักวิชาการคอมพิวเตอร์ 9) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
2. นายสุธีระ อริยะวนกิจ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจการพาณิชยนาวี (นักวิชาการขนส่ง 9 ชช.) กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
3. นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม รองอธิบดี (นักบริหาร 9) กรมทางหลวงชนบท ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
4. นายเอนก อัมระปาล รองอธิบดี (นักบริหาร 9) กรมทางหลวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
7. คณะกรรมการต่าง ๆ ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง (สำนักงาน ก.พ.)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอให้คณะกรรมการต่อไปนี้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จำนวน 2 คณะ ดังนี้
1. คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) โดยปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ใหม่ ดังนี้
องค์ประกอบ รองนายกรัฐมนตรี (หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล) เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายสมหมาย ภาษี) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย เลขาธิการ ก.พ.ร. เลขาธิการ ก.ค.ศ. เลขานุการ ก.พ.อ. และนายไพโรจน์ พรหมสาส์น โดยมีรองเลขาธิการ ก.พ. หรือที่ปรึกษาระบบราชการ ที่ได้รับมอบหมาย รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน ที่ได้รับมอบหมาย รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือ ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณที่ได้รับมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการร่วม
อำนาจหน้าที่ ปรับปรุงอำนาจหน้าที่จากเดิม “พิจารณากำหนดนโยบาย เป้าหมาย กลยุทธ์ และ วิธีดำเนินการ เพื่อให้กำลังคนภาครัฐมีขนาดกะทัดรัด เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพิจารณาจัดสรรอัตราให้กับส่วนราชการที่ต้องเพิ่มอัตราตามความจำเป็น ทั้งนี้ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรการกำหนดขนาดกำลังคนภาครัฐ และมาตรการปรับขนาดกำลังคนภาครัฐ : ข้าราชการ” เป็น “พิจารณากำหนดนโยบาย เป้าหมาย กลยุทธ์ และวิธีดำเนินการ เพื่อให้กำลังคนภาครัฐมีขนาดกะทัดรัด เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพิจารณาจัดสรรอัตราให้กับส่วนราชการตามเหตุผลความจำเป็น และสอดคล้องตามยุทธศาสตร์การปรับขนาดกำลังคนภาครัฐ และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย”
2. คณะกรรมการจัดงานวันข้าราชการพลเรือน โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ตามเดิม ดังนี้ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ และมีกรรมการอื่นอีก 24 คน มีอำนาจหน้าที่หลักคือ กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน โดยคำนึงถึงนโยบายรัฐบาล การเผยแพร่ผลงานของหน่วยงานราชการ ตลอดจนเอกลักษณ์ของข้าราชการ การให้ส่วนราชการและข้าราชการมีส่วนร่วมในกิจกรรมโดยทั่วถึงประโยชน์ที่ข้าราชการและประชาชนจะได้รับจากการจัดงาน และอำนาจหน้าที่อื่นอีก 4 ประการ
8. คณะกรรมการต่าง ๆ ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอให้คณะกรรมการต่อไปนี้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จำนวน 2 คณะ ดังนี้
1. คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ สืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กยต.) โดยมีอำนาจหน้าที่ตามเดิมและปรับปรุงองค์ประกอบใหม่ ดังนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงกลาโหมหรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณหรือผู้แทน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือผู้แทน ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือผู้แทน โดยมีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ หัวหน้าผู้ตรวจราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี นายพันธุ์ชัย วัฒนชัย ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ประจำเขตตรวจราชการที่ 18 และ 19 และผู้อำนวยการสำนักตรวจราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2. คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ใหม่ ดังนี้
องค์ประกอบ รองนายกรัฐมนตรี (ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย) เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย) เป็นกรรมการ
อำนาจหน้าที่ ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ในข้อ 6 จากเดิม “เพิ่มศักยภาพของการเข้าถึงการให้บริการและปรับปรุงการบริการของรัฐให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับภาครัฐในการแก้ปัญหาความเดือดร้อน และสามารถเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลภายในเวลาอันสมควร ตามบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา 61 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” เป็น “เพิ่มศักยภาพของการเข้าถึงการให้บริการและปรับปรุงการบริการของรัฐให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับภาครัฐในการแก้ปัญหาความเดือดร้อน และสามารถเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลภายในเวลาอันสมควร” (ตัด “ตามบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
มาตรา 61 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” ออก)
9. การเสนอให้คณะกรรมการต่าง ๆ ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคงอยู่ (กระทรวงศึกษาธิการ)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอให้คณะกรรมการต่อไปนี้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป สำหรับอำนาจหน้าที่และองค์ประกอบคงเดิม ดังนี้
1. คณะกรรมการฝ่ายการศึกษาของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
2. คณะกรรมการฝ่ายวัฒนธรรมของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒธรรมแห่งสหประชาชาติ
3. คณะกรรมการฝ่ายสื่อสารมวลชนของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒธรรมแห่งสหประชาชาติ
4. คณะกรรมการฝ่ายสังคมศาสตร์ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒธรรมแห่งสหประชาชาติ
5. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO)
6. คณะกรรมการสนับสนุนการจัดตั้งสถานศึกษาเอกชน
7. คณะกรรมการกำหนดนโยบายการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
8. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
9. คณะกรรมการฝ่ายวิทยาศาสตร์ของคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
10. คณะกรรมการพิจารณายกเว้นอากรนำเข้าสื่อ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการศึกษา
11. คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของกระทรวงศึกษาธิการ
12. คณะกรรมการผ่อนคลายระเบียบการเบิกจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมกิจกรรมนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยต่าง ๆ
13. คณะกรรมการอำนวยการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007)
14. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก
15. คณะกรรมการผลักดันยุทธศาสตร์การสร้างสังคม-เศรษฐกิจฐานความรู้ (ด้านเทคโนโลยี ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้)
และให้ยกเลิกคณะกรรมการต่อไปนี้ เนื่องจากสิ้นสุดภารกิจ
1. คณะกรรมการอำนวยการโครงการเงินกู้และเงินยืมเพื่อพัฒนาการศึกษา
2. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
3. คณะกรรมการเสนอรูปแบบและวิธีการในการจัดสรรทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
4. คณะกรรมการพิจารณาส่งเสริมความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างรัฐบาลไทยกับมหาวิทยาลัยอัลอัสฮัร (AL-AZHAR) แห่งอียิปต์
5. คณะกรรมการจัดสร้างอนุสรณ์สถานวีรชนประชาธิปไตย
6. คณะกรรมการส่งเสริมและประสานการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสัมมนาหรือฝึกอบรมเชิงวิชาการนานาชาติของมหาวิทยาลัย
7. คณะกรรมการอำนวยการโครงการเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ
8. คณะกรรมการพัฒนาโครงการเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ
9. คณะกรรมการดำเนินการเพื่อขอรับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ปี พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007)
10. คณะกรรมการบริหารสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
10. ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้อำนวยการ (นักบริการ 10) สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ให้ขยายระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายทินกร นำบุญจิตต์ ผู้อำนวยการ (นักบริหาร 10) สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการต่อไปอีก 1 ปี (ครั้งที่ 1) ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2550
11. ขออนุมัติแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งระดับ 11 (กระทรวงศึกษาธิการ)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอให้แต่งตั้ง นายกฤษณพงศ์ กีรติกร ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน (นักวิชาการศึกษา 10 ชช.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ (นักบริหาร 11) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
12. การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารออมสิน
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารออมสิน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารออมสินได้ครบวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี ในวันที่ 22 ธันวาคม 2549 ดังมีรายนามดังต่อไปนี้ นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ เป็นประธานกรรมการ โดยกรรมการประกอบด้วย นางอรอนงค์ มณีกาญจน์ นายเชิดชัย ขันธ์นะภา นางดวงสมร วรฤทธิ์ นายสมพงษ์ วนาภา นายปรีชา จรุงกิจอนันต์ นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ พลตำรวจตรี เจตน์ มงคลหัตถี นายปัญจะ เสนาดิสัย นายวิศิษฐ์ วงศ์รวมลาภ และนายดุสิต นนทะนาคร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2549 เป็นต้นไป สำหรับ นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ รองอัยการสูงสุด กระทรวงการคลังกำลังดำเนินการขออนุมัติจากคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) หาก ก.อ. อนุมัติหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) มีมติอนุมัติให้เป็นกรรมการธนาคารออมสินเป็นต้นไป
13. การแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 2 คณะ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 284/2549 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรอง เรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 2 คณะ โดยมีองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่และกลไกการปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้
1. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1
1.1 องค์ประกอบ
1.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล)
1.1.2 รัฐนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รองประธานกรรมการ
1.1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรรมการ
1.1.4 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กรรมการ
(นายสมหมาย ภาษี)
1.1.5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
1.1.6 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว กรรมการ
และกีฬา
1.1.7 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยี กรรมการ
สารสนเทศและการสื่อสาร
1.1.8 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กรรมการ
1.1.9 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
1.1.10 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการ
1.1.11 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรรมการ
1.1.12 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
1.1.13 ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
1.1.14 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ กรรมการและ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขานุการ
1.1.15 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการและ
ผู้ช่วยเลขานุการ
1.1.16 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
(หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล)
1.2 อำนาจหน้าที่
1.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
1.2.2 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรีและหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
1.3 กลไกการปฏิบัติงาน
1.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหาตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 1.2.1 เสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบ ให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
1.3.2 เรื่องสำคัญซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการตามคำสั่งนี้หมายถึงเรื่องที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
1.3.2.1 เรื่องที่เป็นปัญหาในเชิงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน
1.3.2.2 เรื่องที่ต้องใช้งบประมาณดำเนินการเป็นจำนวนมาก
1.3.2.3 เรื่องที่กระทบต่อการปฏิบัติราชการของหลายหน่วยงาน
1.3.2.4 เรื่องที่หน่วยงานต่าง ๆ มีความเห็นไม่สอดคล้องกัน
1.3.2.5 เรื่องที่ยังไม่เคยมีระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติมาก่อน
1.3.2.6 เรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา-กษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สังคม จิตวิทยา หรือความมั่นคงหรือเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมในส่วนที่เกี่ยวข้อง
1.3.2.7 เรื่องที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะอื่น นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีขอให้พิจารณา
1.3.3 รองนายกรัฐมนตรีทุกคนจะเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดังกล่าวก็ได้ตามที่เห็นสมควร ในกรณีเช่นนี้ ให้รองนายกรัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมเป็นกรรมการด้วย ทั้งนี้ ให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจัดส่งระเบียบวาระการประชุมและเอกสารอื่น ๆ ให้รองนายกรัฐมนตรีทุกคนทราบทุกครั้งด้วย
1.3.4 ให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมประชุมเป็นกรรมการด้วย ทั้งนี้ ให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจัดส่งระเบียบวาระการประชุมและเอกสารอื่น ๆ ให้บุคคลดังกล่าวทราบทุกครั้ง
1.3.5 คณะกรรมการมีอำนาจเชิญผู้แทนกระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานของรัฐหรือบุคคลอื่นที่อาจให้ข้อมูลเข้าร่วมประชุมในปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ตามที่เห็นสมควร
1.3.6 วันเวลา สถานที่ และการประชุม ให้เป็นตามที่คณะกรรมการกำหนด
2. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2
2.1 องค์ประกอบ
2.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์)
2.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ รองประธานกรรมการ
และสิ่งแวดล้อม
2.1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
2.1.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กรรมการ
2.1.5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ กรรมการ
และเทคโนโลยี
2.1.6 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
2.1.7 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
2.1.8 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
2.1.9 ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
2.1.10 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการและ
เลขานุการ
2.1.11 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ กรรมการและ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้ช่วยเลขานุการ
2.1.12 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
(นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์)
2.2 อำนาจหน้าที่
2.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงแรงงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
2.2.2 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรี และหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
2.3 กลไกการปฏิบัติงาน
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ