(ต่อ1) การปรับปรุงแบบรายงานที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ยื่น

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday July 7, 1999 10:12 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

        ชุดรวมทุกสำนักงาน                                                      ว.ธ.   9.5
สำนักงานวิเทศธนกิจ..........................…1/
ชุดสาขาเฉพาะภาคเหนือ สำหรับเจ้าหน้าที่
รายละเอียด ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เสร็จแล้ว 2/ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ชุดสาขาเฉพาะภาคใต้
เดือน...............สิ้นสุดวันที่.............…
ชุดสาขาเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วันที่ ชื่อ รหัส รหัส เลขประ เลขที่ วิธีการ ยอด เงินต้น ดอกเบี้ย ขาดทุน มูลค่า เงิน จำนวน
ปรับ ลูกหนี้ ลูกหนี้ ประ จำตัว สัญญา ปรับปรุง คง ที่ลด ที่ลด เนื่อง สินทรัพย์ สำรอง ภาษีที่ได้
ปรุงฯ เภท ผู้เสีย เงินกู้ โครง ค้าง จาก ที่โอน ที่กัน รับยกเว้น
โครง ธุรกิจ ภาษี สร้าง ก่อน การ ทั้งสิ้น
สร้าง อากร หนี้ การ รับโอน
หนี้ ปรับ สินทรัพย์ ปรุงฯ
(A) (B) (C) (D) (E) (F) (G) (H) (I) (J) (K) (L) (M) (N)
รวมทั้งสิ้น
1/ เฉพาะสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจ
2/ ในกรณีที่เป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ทั่วไปซึ่งไม่มีส่วนสูญเสีย ไม่ต้องรายงานในช่อง (I) (J) (K) (M)
ขอรับรองว่ารายงานนี้ถูกต้องครบถ้วนตรงต่อความเป็นจริง
....................................(เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจลงนาม)
(.....................................)
ตำแหน่ง................................
วันที่....................................
คำอธิบายรายงาน ว.ธ. 9.5
รายงานรายละเอียดลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เสร็จแล้ว
ก. ข้อความทั่วไป
1. ให้จัดทำรายงาน ว.ธ. 9.5 เป็นประจำทุกเดือน โดยรายงานลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เสร็จ ที่เพิ่มขึ้นในระหว่างเดือนที่รายงาน ไม่จำกัดเฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหาและมูลหนี้ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป
2. ให้จัดทำข้อมูลโดยแยกตามชุดรายงาน ดังนี้
2.1 ชุดรวมทุกสำนักงานวิเทศธนกิจ
2.2 ชุดรวมเฉพาะสำนักงานในเขตความรับผิดชอบของสาขาธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาภาคเหนือ
2.3 ชุดรวมเฉพาะสำนักงานในเขตความรับผิดชอบของสาขาธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาภาคใต้
2.4 ชุดรวมเฉพาะสำนักงานในเขตความรับผิดชอบของสาขาธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3. ให้สถาบันการเงินจัดทำรายงานตามข้อ 2 ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ (Computer Readable Form) ลงในแผ่น Diskette ตามรูปแบบ (Record Specification Format) และคำอธิบายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยให้จัดส่งพร้อมกับแบบรายงานตามข้อ 2 จำนวน 1 ชุดไปที่ ฝ่ายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย บางขุนพรหม ภายในวันที่ 21 ของเดือนถัดจากเดือนที่รายงานและเก็บสำเนารายงานไว้ที่สำนักงานใหญ่ของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ หากไม่มีรายการที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เสร็จแล้วในเดือนใด ให้สถาบันการเงินจัดส่งรายงานในเดือนนั้น โดยระบุว่า “ไม่มีรายการ” ด้วย
4. หากมีปัญหาประการใดเกี่ยวกับการจัดทำรายงานนี้ โปรดติดต่อฝ่ายนโยบายสถาบันการเงิน โทร. 280-0631 และโทร. 628-5572
ข. นิยามของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
1. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หมายถึง การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ทั่วไป และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา ตามคำนิยามในข้อ 2.1 และข้อ 2.2 และตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดไว้ใน
1.1 หนังสือที่ธปท.ง.(ว) 2112/2542 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน และที่จะได้แก้ไขเพิ่มเติม
1.2 นโยบาย วิธีการ และขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่สถาบันการเงินกำหนดและเสนอให้คณะกรรมการของสถาบันการเงินอนุมัติและธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับแจ้งตอบรับนโยบายดังกล่าวแล้ว
ทั้งนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ อาจเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กำหนดไว้ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อก็ได้แล้วแต่กรณี
2. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ทั่วไป หมายถึง การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ไม่มีส่วนสูญเสีย
2.2 การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา หมายถึง การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีส่วนสูญเสีย เนื่องจาก
(1) มีการลดต้นเงินหรือดอกเบี้ยค้างรับที่บันทึกเป็นรายได้แล้วให้ลูกหนี้
(2) มีผลขาดทุนจากการรับโอนทรัพย์สินที่มีมูลค่าราคายุติธรรมต่ำกว่ายอดหนี้ที่ตัดจำหน่ายไป
(3) มีการผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ซึ่งทำให้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับต่ำกว่ายอดหนี้ตามบัญชีของลูกหนี้รวมดอกเบี้ยค้างรับที่บันทึกเป็นรายได้แล้ว หรือ
(4) มีส่วนสูญเสียจากการคำนวณโดยใช้ราคาตลาดของลูกหนี้ หรือการใช้มูลค่าราคายุติธรรมของหลักทรัพย์ที่เป็นประกัน หรือมีส่วนสูญเสียจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อันเนื่องมาจากเหตุผลอื่น เช่น การแปลงหนี้เป็นทุน เป็นต้น
ความหมายของรายการ
1. วันที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หมายถึง วันที่สถาบันการเงินได้ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
2. ชื่อลูกหนี้ หมายถึง ชื่อของลูกหนี้สถาบันการเงินที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เสร็จในระหว่างเดือนที่รายงาน
ในกรณีที่สถาบันการเงินรับโอนทรัพย์สินโดยมีสัญญาให้สิทธิลูกหนี้ รับโอนกลับคืน เมื่อสถาบันการเงินได้โอนทรัพย์สินคืน ให้แยกรายงานรายชื่อลูกหนี้ภายใต้หัวข้อ “ ลูกหนี้ที่สถาบันการเงินโอนทรัพย์สินกลับคืน” ให้ชัดเจนด้วย
3. รหัสลูกหนี้ หมายถึง รหัสลูกหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ในแบบรายงาน ว.ธ.4 แต่สำหรับลูกหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้กำหนดรหัสลูกหนี้ไว้ ไม่ต้องรายงานในช่องนี้
4. รหัสประเภทธุรกิจ หมายถึง รหัสประเภทธุรกิจของลูกหนี้ ตามคำอธิบายและความหมายที่กำหนดไว้ในแบบรายงาน ว.ธ.4
5. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หมายถึง เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของลูกหนี้
6. เลขที่สัญญาเงินกู้ หมายถึง เลขที่ของสัญญาเงินกู้ที่สถาบันการเงินอนุมัติให้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
7. วิธีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หมายถึง วิธีที่สถาบันการเงินใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ซึ่งอาจมีเพียงหนึ่งวิธีหรือหลายวิธีรวมกัน การรายงานการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จะให้รายงานเป็นรหัสตัวเลขซึ่งตรงกับวิธีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวนทั้งสิ้น 9 วิธี ตามที่ปรากฏในตาราง ทั้งนี้ หากเป็นวิธีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อื่น ๆ นอกเหนือจากวิธีที่กำหนด สถาบันการเงินจะต้องระบุวิธีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้นั้นไว้ด้วยรหัส 000-000-000 และรายงานวิธีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้รายนั้นในช่องหมายเหตุในรายงาน
วิธีที่
วิธีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
1 ลดต้นเงินและหรือดอกเบี้ยค้างรับ
2 ลดอัตราดอกเบี้ยในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
3 แปลงหนี้เป็นทุน หรือเป็นตราสารหนี้แปลงสภาพ(Convertible Debenture)
4 ขยายเวลาการชำระหนี้ (จากหนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ระยะยาวอยู่แล้ว)
5 ปรับหนี้ระยะสั้นเป็นหนี้ระยะยาว
6 ให้ระยะเวลาปลอดหนี้ (Grace Period) เงินต้นและ/หรือดอกเบี้ย
7 รับโอนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหนี้
8 รับโอนทรัพย์สินที่มิใช่สินทรัพย์ที่เป็นหลักประกันหนี้
9 รับโอนทรัพย์สินโดยมีสัญญาให้สิทธิลูกหนี้ขอโอนกลับคืน
สถาบันการเงินจะต้องระบุวิธีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยการใช้ตัวเลข 0 กับ 1 สำหรับแต่ละวิธีตามลำดับ
- ตัวเลข 0 หมายความว่า สถาบันการเงินไม่ได้ใช้วิธีนั้นในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ - ตัวเลข 1 หมายความว่า สถาบันการเงินได้ใช้วิธีนั้นในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ กรณีมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยใช้หลายวิธีรวมกัน ก็จะปรากฏตัวเลข 1 ตามจำนวนวิธีการที่ใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ตัวอย่างที่ 1 กรณีใช้วิธีปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพียงวิธีเดียว โดยการแปลงหนี้เป็นทุน (วิธีที่ 3) จะต้องรายงานดังนี้ คือ 001-000-000 จะเห็นว่า หลักที่ 3 จะปรากฏเป็นเลข 1 หลักอื่นนอกนั้นเป็น เลข 0
ตัวอย่างที่ 2 กรณีใช้หลายวิธีรวมกัน เช่น ใช้วิธีลดเงินต้น (วิธีที่ 1) ขยายเวลาชำระหนี้ (วิธีที่ 4) โอนสินทรัพย์ที่เป็นหลักประกันหนี้มาชำระหนี้ (วิธีที่ 7) ข้อมูลที่รายงานจะปรากฏเลข 1 ขึ้นตรงหลักที่ 1, 4, 7 ดังนี้ 100-100-100
8. ยอดคงค้างก่อนการปรับปรุงฯ หมายถึง ยอดหนี้ตามบัญชีลูกหนี้ก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้รวมดอกเบี้ยค้างรับที่รับรู้เป็นรายได้แล้ว ทั้งนี้ ยอดรวมของยอดคงค้างก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จะต้องเท่ากับยอดรวมของลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เสร็จแล้วในใน ช่อง (D) ของรายงาน ว.ธ. 9.4 และรายงาน ว.ธ. 9.4/1 ณ วันสิ้นเดือนเดียวกันด้วย
9. เงินต้นที่ลด หมายถึง มูลค่าของเงินต้นส่วนที่สถาบันการเงินยอมสละสิทธิเรียกร้องไม่เรียกเก็บจากลูกหนี้ตามสัญญาเดิม
10. ดอกเบี้ยที่ลด หมายถึง มูลค่าของดอกเบี้ยที่ลดให้กับลูกหนี้เฉพาะดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินได้บันทึกเป็นรายได้ตามบัญชีแล้ว
11. ขาดทุนเนื่องจากการรับโอนทรัพย์สิน หมายถึง ขาดทุนจากการรับโอนทรัพย์สิน ที่มีมูลค่าตามราคายุติธรรมต่ำกว่ายอดหนี้ตามบัญชีรวมดอกเบี้ยค้างรับ ที่ตัดจำหน่ายไป
12. มูลค่าทรัพย์สินที่โอน หมายถึง มูลค่าของทรัพย์สินที่ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน โอนให้กับสถาบันการเงินเพื่อการชำระหนี้ หรือมูลค่าทรัพย์สินที่สถาบันการเงินโอนกลับคืนให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นเจ้าของเดิมตามเงื่อนไขของสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
13. เงินสำรองที่กันทั้งสิ้น หมายถึงจำนวนเงินสำรองที่พึงต้องกันทั้งสิ้นสำหรับส่วนสูญเสียจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ที่มียอดหนี้ตามบัญชีรวมดอกเบี้ยค้างรับ ณ วันที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ สูงกว่ามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับตามเงื่อนไขการชำระหนี้ใหม่ (หรือราคาตลาดของสินเชื่อหรือราคายุติธรรมของหลักประกันที่เป็นแหล่งที่มาของกระแสเงินสดรับจากการชำระหนี้) โดยให้รายงานจำนวนเงินสำรองที่พึงต้องกันทั้งสิ้น
14. จำนวนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้น หมายถึง จำนวนเงินภาษีที่สถาบันการเงินได้รับยกเว้นเนื่องจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ โดยแยกจำนวนเงินตามประเภทรายการ ดังต่อไปนี้
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง จำนวนเงินภาษีที่คำนวณจากมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ซึ่งสถาบันการเงินโอนกลับคืนให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ หมายถึง จำนวนเงินภาษีที่คำนวณจากมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งสถาบันการเงินโอนกลับคืนให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
- อื่น ๆ หมายถึง จำนวนเงินที่ได้รับลดหย่อนหรือยกเว้นจากทางการอันเนื่องจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เช่น ค่าธรรมเนียมการโอนและการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์และอาคารชุด และอากรแสตมป์จากการกระทำตราสารในกิจการที่เกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เป็นต้น
15. หมายเหตุ ใช้สำหรับรายงานวิธีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อื่นนอกเหนือจากวิธีที่กำหนดไว้ รวมทั้งข้อมูลอื่นที่จำเป็นต้องรายงาน (ถ้ามี)
สรุปประเด็นการปรับปรุงแบบรายงานของธนาคารพาณิชย์ที่เกี่ยวกับประกาศสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ ฯ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มีนาคม 2542
หลักการทั่วไป 1. รูปแบบรายงานคงเดิม เพิ่มเติมคอลัมน์และหมายเหตุใน ธ.พ. 9 ตาราง 32.1 ธ.พ. 9.2 และ ธ.พ. 9.3 และแก้ไขคอลัมน์ในธ.พ. 9.5 และว.ธ. 9.5
2. ปรับปรุงคำอธิบายการจัดทำรายงานให้สอดคล้องกับประกาศฉบับข้างต้นธ.พ. 9 รายงานสินทรัพย์จัดชั้น
1. รายงาน เพิ่มเติมคอลัมน์รหัสประเภทลูกหนี้(1) ให้สอดคล้องกับคำอธิบายในการจัดทำรายงาน และเพิ่มเติมหมายเหตุในหน้าสรุปรายงานสินทรัพย์จัดชั้น ให้รายงานจำนวนรายของสินทรัพย์จัดชั้นปกติ และจำนวนรายตลอดจนยอดคงค้างของลูกหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ไม่มีส่วนสูญเสีย และเข้าเงื่อนไขจัดชั้นปกติได้ทันที
2. คำอธิบาย
ข้อ 3 รหัสประเภทลูกหนี้ (1) เพิ่มเติม “0” หมายถึง ลูกหนี้ที่มีรหัสลูกหนี้ ธ.พ.4 แล้ว และ “3” ให้รวมถึงลูกหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีส่วนสูญเสียและเข้าเงื่อนไขจัดชั้นปกติได้ทันทีด้วย
ข้อ 15 ส่วนสูญเสียจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพิ่มเติม ข้อ 15.3 กรณีลูกหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีส่วนสูญเสียและเข้าเงื่อนไขจัดชั้นปกติได้ทันที ให้รายงานเฉพาะส่วนสูญเสียจนกว่าจะมีการชำระหนี้เสร็จสิ้นตาราง 32.1 รายงานเงินให้สินเชื่อค้างชำระและเงินให้สินเชื่อจัดชั้น แยกตามประเภทธุรกิจ
1. รายงาน เพิ่มเติมหมายเหตุรายงาน
2. คำอธิบาย
ข้อ 3 เงินให้สินเชื่อค้างชำระ เพิ่มเติมในส่วนลูกหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่จัดชั้นปกติได้ทันทีโดยไม่ต้องรอติดตามผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่ ไม่ต้องรายงานยอดการค้างชำระ และเมื่อไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่ได้ ก็ให้เริ่มนับระยะการค้างชำระใหม่
เพิ่มเติมข้อ 6 | 8 หมายเหตุ 1 | 3 โดยให้แสดงยอดคงค้างของเงินให้สินเชื่อที่เคยค้างชำระเกิน 3 เดือนของลูกหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่จัดชั้นปกติได้ทันที ที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่ได้ครบ 3 งวดแล้ว และให้แสดงเงินให้สินเชื่อของลูกหนี้จัดชั้นสูญและสงสัยจะสูญที่กันสำรองครบ ร้อยละ 100 และตัดออกจากบัญชีแล้ว ตามลำดับธ.พ. 9.2 รายงานการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
1. รายงาน เพิ่มเติมหมายเหตุ โดยให้รายงานการเปลี่ยนแปลงอื่น ไว้ท้ายรายงาน
2. คำอธิบาย
ข้อ 2.1 ยอดหนี้เดิม ให้หมายถึงยอดคงค้างตามบัญชีก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้รวมดอกเบี้ยค้างรับที่รับรู้เป็นรายได้แล้ว เพื่อให้สอดคล้องกับ ธ.พ. 9.4 ธ.พ. 9.4/1 และ ธ.พ. 9.5 ที่ไม่รวมส่วนที่งดรับรู้รายได้
ข้อ 3.4 อื่น ๆ เพิ่มความหมายให้รวมถึงยอดคงค้างตามบัญชีของลูกหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่เข้าเงื่อนไขการเปลี่ยนสถานะการจัดชั้นเป็นปกติได้ทันที โดยไม่ต้องรอติดตามผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามประกาศข้างต้น หากมีการเปลี่ยนแปลงอื่นตามความหมายเดิมให้แยกแสดงไว้ในหมายเหตุ 2 ท้ายรายงานธ.พ. 9.3 รายงานสรุปสินทรัพย์จัดชั้นและการกันเงินสำรอง
1. รายงาน ยกเลิกหมายเหตุส่วนสูญเสียสุทธิ
2. คำอธิบาย
ข้อ 1.1 สินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง สำหรับลูกหนี้จัดชั้นปกติและกล่าวถึงเป็นพิเศษไม่ต้องรายงานดอกเบี้ยค้างรับ
ข้อ 2.2 ส่วนสูญเสียทั้งสิ้น หมายถึง เงินสำรองสำหรับส่วนสูญเสียจากการคำนวณราคาตามบัญชีใหม่ของลูกหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดทั้งจำนวนของลูกหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในระหว่างติดตามผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เฉพาะรายที่ใช้เกณฑ์ส่วนสูญเสีย ลูกหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่ได้และเปลี่ยนสถานะเป็นลูกหนี้จัดชั้นปกติแล้ว และลูกหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่จัดชั้นปกติได้ทันทีโดยไม่ต้องรอติดตามผล
ทั้งนี้ ในกรณีของลูกหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีส่วนสูญเสีย ซึ่งสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ และเปลี่ยนสถานะเป็นลูกหนี้จัดชั้นปกติแล้ว หากต่อมาไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้และถูกจัดชั้นเป็นกล่าวถึงเป็นพิเศษ ต่ำกว่ามาตรฐาน สงสัย หรือสงสัยจะสูญ ให้กันเงินสำรองตามเกณฑ์การจัดชั้น โดยไม่ต้องกันเงินสำรองตามเกณฑ์ส่วนสูญเสียอีกต่อไป อย่างไรก็ดี เงินสำรองที่เคยกันไว้ตามเกณฑ์ส่วนสูญเสียสำหรับลูกหนี้ดังกล่าว สามารถนำมาใช้เป็นเงินสำรองตามเกณฑ์การจัดชั้นได้
ข้อ 4 เงินสำรองที่ต้องกันให้ครบ กรณีส่วนสูญเสียทั้งสิ้น จะเท่ากับส่วนสูญเสียทั้งสิ้น คูณอัตราการทยอยกันที่กำหนด
ยกเลิก ข้อ 6 ส่วนสูญเสียสุทธิ
ธ.พ. 9.4 ธ.พ.9.4/1 ธ.พ. 9.5 ว.ธ.9.4 ว.ธ.9.4/1 และว.ธ. 9.5 รายงานการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
1. รายงาน ธ.พ. 9.5 แก้ไขคอลัมน์เงินสำรองที่กันเพิ่ม เป็น เงินสำรองที่กันทั้งสิ้น
2. คำอธิบาย
ข้อ ข นิยามของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยเปลี่ยนเป็นอ้างถึงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มีนาคม 2542
ธ.พ. 9.5 และ ว.ธ.9.5 เพิ่มความหมายของข้อ 7 วิธีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ วิธีที่ 3 เป็นแปลงหนี้เป็นทุนหรือเป็นตราสารหนี้แปลงสภาพ และแก้ไขข้อ 13 เงินสำรองที่กันเพิ่ม เป็น เงินสำรองที่กันทั้งสิ้น เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศข้างต้น
-ยก-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ